ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับระบบวางแผนทรัพยากรขององค์กร กรณีศึกษา : บริษัท กระดาษสติ๊กเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

Main Article Content

เกศรินทร์ หงษ์ทอง

Abstract

ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับระบบวางแผนทรัพยากรขององค์กร กรณีศึกษา : บริษัท กระดาษสติ๊กเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

Factors Affecting the Acceptance of the Enterprise Resource Planning System: A Case Study of Label Paper (Thailand) Co. Ltd.

บทคัดย่อ
   การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับระบบวางแผนทรัพยากรขององค์กร (Movex ERP) ของบริษัทกระดาษสติ๊กเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยใช้แบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยี (TAM) ซึ่งประกอบด้วย การรับรู้ประโยชน์, การรับรู้เกี่ยวกับความยากง่ายการใช้งาน, ความตั้งใจใช้งานและการใช้งานระบบจริง
   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือพนักงานผู้ใช้ระบบวางแผนทรัพยากรของบริษัทกระดาษสติ๊กเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 224 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วยสมการถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย และสมการถดถอยพหุคูณเชิงเส้นที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
   การศึกษาพบว่า
      ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 26-35 ปี การศึกษาระดับ ปวส. ตำแหน่งงานระดับปฏิบัติการ และประสบการณ์การทำงาน 1-5 ปี ให้ความสำคัญต่อการยอมรับระบบวางแผนทรัพยากรขององค์กรในภาพรวม และด้านการรับรู้ประโยชน์ ความตั้งใจใช้งานและการใช้งานระบบจริงอยู่ในระดับมาก ส่วนการรับรู้เกี่ยวกับความยากง่ายการใช้งานอยู่ในระดับปานกลาง
   ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า
      การศึกษา ตำแหน่งงาน และประสบการณ์มีผลต่อการยอมรับระบบด้านการรับรู้ประโยชน์ ส่วนตำแหน่งงานมีผลด้านการรับรู้เกี่ยวกับความยากง่ายการใช้งานระบบ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับระบบวางแผนทรัพยากรขององค์กร ทั้ง 4 ด้านพบว่ามีความสัมพันธ์กัน และส่งผลเชิงบวกไปในทิศทางเดียวกัน โดยการรับรู้เกี่ยวกับความยากง่ายในการใช้งานระบบ ส่งผลต่อการรับรู้ประโยชน์ของระบบ และปัจจัยทั้ง 2 นี้ส่งผลต่อความตั้งใจในการใช้งานและการใช้งานจริง

ABSTRACT
   The objective of this independent study was to explore the factors affecting the acceptance of Movex Enterprise Resource Planning (Movex ERP) System, Label Paper (Thailand) Co. Ltd. The framework was developed base on the Technology Acceptance Model (TAM) including perceived usefulness (PU), perceived ease of use (PEOU), behavior intension (BI), and actual use (AU).
   The research sample group was 224 employees of the Label Paper (Thailand) Co. Ltd. Who used the MovexERP. The statistics used to analyze data were descriptive statistics including frequencies, percentages, mean, and standard deviation; the inferential statistics including Simple Linear Regression and Multiple Linear Regression the statistical significance level of 0.05.
   The results found that most of the respondents were males, age 26-35 years old, educational level of diploma, work in the operational level, and earn 1-5 years of working experience. The acceptance of Movex ERP in the aspect of PU, BI, AU, and overall aspects were in the high level but the PEOU aspect was in the average level. The hypothesis results found that educational level, work position, and work experience affected the acceptance of Movex ERP in PU. However, work position affected the acceptanceof Movex ERP in PEOU. All of the four aspects had positively correlated in the same direction, in detail, PEOU affected PU, and both of them affected BI, and BI affected AC.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

เกศรินทร์ หงษ์ทอง

นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรมธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี