การจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

ณรงค์ ศาลา

Abstract

การจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม

EDUCATIONAL MANAGEMENT OF CHILD DEVELOPMENT CENTERS UNDER THE SUPERVISION OF LOCAL ADMINISTRATIVE ORGANIZATIONS IN MAHA SARAKHAM

บทคัดย่อ
   การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม และ2) เพื่อสร้างแนวทางการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและ สภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม ประชากร 519 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 219 คน ระยะที่ 2) สร้างแนวทางการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นกรณี ศึกษา ได้แก่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโนนข่า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไค้นุ่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหาค่าสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการของการจัดการศึกษา (PNImodify)
   ผลการวิจัยพบว่า
      1. สภาพปัจจุบันการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคามภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ วิธีการเรียนการสอน รองลงมาคือผู้เรียน สาระเนื้อหา ตามลำดับและด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ สื่อและอุปกรณ์ สภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคามภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ผู้บริหารและบุคลากรที่ทำหน้าที่สนับสนุนการศึกษา
      2. แนวทางจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคามควรดำเนินการดังนี้ผู้บริหารและบุคลากรที่ทำหน้าที่สนับสนุนการศึกษา ต้องให้ความสำคัญต่อการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีนโยบายที่ชัดเจนในการบริหารงานด้านการศึกษา คณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บุคลากร และชุมชน ต้องมีส่วนร่วมและให้การสนับสนุนการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในทุกๆด้าน สื่อและอุปกรณ์ ควรเน้นการจัดกิจกรรมที่ใช้สื่อของจริงในการส่งเสริมการเรียนรู้ ด้านเงินทุนสนับสนุน ควรมีการหาเงินทุนจากภายนอก มีการใช้ที่ถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย มีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ผู้เรียนได้รับการดูแลด้านพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจและโภชนาการอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ การจัดสภาพภายในและภาพนอกศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความสะอาดและปลอดภัย ร่มรื่น และน่าอยู่ มีพื้นที่ใช้สอยที่เพียงพอ มีระบบป้องกันความปลอดภัย และแผนป้องกันที่ชัดเจน มีการซ้อมแผนทุกปี มีครูผู้ดูแลเด็กเพียงพอสำหรับการจัดการศึกษา มีคุณสมบัติครบถ้วนตรงตามสายงาน ได้รับผลตอบแทน สวัสดิการ สิทธิประโยชน์อื่นๆ เหมาะสม สาระเนื้อหาควรใช้หลักสูตรแกนกลางเป็นหลักในการจัดทำหลักสูตร บรรจุเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ในหลักสูตร วิธีการเรียนการสอนการจัดชั้นเรียนของเด็กควรแบ่งอายุให้ชัดเจน กำหนดเวลาเรียนเป็นปีละ 2 ภาคเรียนหรือ 200 วัน และในแต่ละวันใช้เวลา 5-6 ชั่วโมง ใช้เวลาในการจัดกิจกรรมละ 15-20 นาที ประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมและผลงานให้ผู้ปกครองทราบ จัดระบบการรับส่งนักเรียนอย่างเป็นระบบ จัดให้มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย มีชมรมผู้ปกครอง มีชมรมศิษย์เก่า จัดให้มีการระดมทุน สร้างเครือข่ายระหว่างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ABSTRACT
   The research aimed at 1) studying the present conditions and desirable circumstances of the child development centers under the supervision of local administrative organizations in Maha Sarakham, and 2) creating the educational management guidelines for the child development centers under the supervision of local administrative organizations in Maha Sarakham. The research was carried out in 2 phases. In Phase 1, the study focused The 519 research population. The samples were 219. In Phase 2, the educational management guidelines of the child development centers under the supervision of local administrative organizations in Maha Sarakham were designed. The samples used as case studies were obtained by using purposive sampling techniques involving the administrators of local administrative organizations, directors of the division of education or chiefs of academic section or educators, chiefs of the child development centers, and teachers on duties in Nonkha Child Development Center, Ban Khai Nun Child Development Center, and Roi-Et Municipality Child Development Center. The research instruments for data collection comprised the interview and questionnaire. The collected data was analyzed by the computer program for mean, standard deviation, and PNI modify.
   The findings of the research were discussed below.
      1. The present conditions and desirable circumstances of the educational management of the child development centers under the supervision of local administrative organizations in Maha SarakhamIt was found that the overall educational management conditions of the child development centers under the supervision of local administrative organizations in Maha Sarakham was at high level. Learning and teaching methodology was the aspect which gained the highest mean. Learners and contents were in second and third orders, respectively. The aspects with the lowest means were media and equipment. For the overall desirable circumstances of the educational management of the child development centers under the supervision of local administrative organizations in Maha Sarakham, it was also found at high level. The aspects with the highest means were the administrators and the academic supporting staff. The aspects with lower means were learning and teaching methodology and supporting budget, respectively. And the aspect with the lowest mean was contents.
      2. The educational management guidelines for the child development centers under the supervision of local administrative organizations in Maha Sarakham were suggested below. The administrators and academic supporting staff must give importance to the educational management at the child development centers and have clear policies on the academic administration. The administrative committee of the child development centers, staff, and community must participate in and support the academic management of the child development centers in all aspects. The activities arranged to support learning should focus on using the authentic media. There should be ways to gain external funds to be used appropriately and accordingly to rules and laws with maximum worthiness and benefits. Learners receive thorough attentions and nutrition for their physical and mental development. Both inside and outside areas of the child development centers should be clean, safe, shady, and livable. There should be adequate living spaces and safety protection system with strong safety plans. The safety plans should be rehearsed yearly.
   There should be sufficient qualified teachers for managing the education for children. They should get suitable pay, welfares, and other benefits. In the aspect of the contents, the curriculum at the child development centers should be from the core curriculum. The curriculum should also contain the local wisdom. The students should be put in class according to their ages. The study time should be divided into 2 terms per year or 200 days and 5-6 hours per day. 15-20 minutes should be spent on each activity. The activities arranged at the centers and students’ works should be publicized so that the parents know. The centers should protect and dispose of the pests which carry diseases every term. The security guards should be prepared. Parent organization and alumni club should be established. Fundraising is needed. Network building between child development centers are recommended.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

ณรงค์ ศาลา

นิสิตปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม