การสื่อสารเพื่อสืบทอดภาษาถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดสกลนคร
Main Article Content
Abstract
การสื่อสารเพื่อสืบทอดภาษาถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดสกลนคร
COMMUNICATIONS TO INHERIT LOCAL LANGUAGE OF ETHNIC GROUP AT SAKON NAKHON
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการสื่อสารเพื่อสืบทอดภาษาถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดสกลนคร และ 2) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการสืบทอดภาษาถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดสกลนคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย (1) กลุ่มผู้สูงอายุหรือผู้อาวุโส จำนวน 25 คน (2) กลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 5 คน (3) กลุ่มเด็กและเยาวชน จำนวน 25 คน และ (4) นักวิชาการด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร จำนวน 2 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการสื่อสารเพื่อสืบทอดภาษาถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดสกลนคร มี 4 องค์ประกอบหลักได้แก่ ผู้ส่งสาร ผู้รับสาร สาร และช่องทางการสื่อสาร โดยที่ ผู้ส่งสาร และผู้รับสาร คือผู้ที่อยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีทักษะในการสื่อสารที่มีความเข้าใจและสามารถถอดรหัสสารได้ มีทัศนคติที่เป็นบวกต่อภาษาถิ่นและกลุ่มชาติพันธุ์ของตนเอง และมีความสามารถถ่ายทอดภาษาถิ่นผ่านระบบสังคม วัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อในชุมชนของตนเอง ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุหรือผู้อาวุโสซึ่งเป็นผู้ที่สืบทอดภาษาถิ่นผ่านการอบรมสั่งสอนเลี้ยงดูลูกหลานคือกลุ่มเด็กและเยาวชนโดยการใช้ภาษาถิ่นเป็นตัวกลางในการสื่อสาร สาร คือ ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารเนื้อหาเรื่องราวในชีวิตประจำวันของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ ภาษาผู้ไท ภาษาย้อ ภาษาโซ่ ภาษาโย้ย และภาษากะเลิง เพราะอยู่ในตระกูลภาษาเดียวกัน มีลักษณะสำเนียงเท่านั้นที่แตกต่างกัน แต่สามารถใช้สื่อสารร่วมกันได้ภายในกลุ่มชาติพันธุ์ หรือต่างกลุ่มชาติพันธุ์ ยกเว้นภาษาโซ่ ที่ไม่อาจใช้สื่อสารต่างกลุ่มชาติพันธุ์ได้เนื่องจากมีความแตกต่างกันในด้านของตระกูลภาษา ช่องทางการสื่อสาร ในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ใช้วิธีการสื่อสาร ผ่านการพูดคุย หอกระจายข่าว ผ่านตัวพิธีกรที่ใช้ภาษาถิ่นในงานบุญประเพณีต่างๆ และสื่อมวลชนในท้องถิ่น โดยได้ใช้ภาษาถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ผ่านช่องทางสื่อวิทยุกระจายเสียง เพื่อเป็นตัวสนับสนุนและส่งเสริมเอกลักษณ์ที่มีอยู่ให้มีความโดดเด่นมากยิ่งขึ้น 2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการสืบทอดภาษาถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดสกลนคร คือ ครอบครัว และสังคม ได้แก่ โรงเรียน กลุ่มเพื่อน สื่อมวลชน ซึ่งมีผลเกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกันในการกระตุ้นให้บุคคลในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ได้ซึมซับและยอมรับจนสามารถสื่อสารกันโดยใช้ภาษาถิ่นได้
ABSTRACT
The objectives of this research were ; 1) to study communication processes for dialect inheritance of ethnic groups in Sakon Nakhon province, and 2) to study factors in dialect inheritance of ethnic groups in Sakon Nakhon province. It was a qualitative research, by in-depth interview method. The key informants were consisted of (1) 25 elderly persons, (2) 5 local sages, (3) 25 children and youth, and (4) 2 academicians in local culture of Sakon Nakhon province. They were selected by purposive sampling. Research tools were in-depth interview form. The data was analyzed by content analysis.
The results showed that 1) Communication processes for dialect inheritance of ethnic groups in Sakon Nakhon province had 4 components, including sender, receiver, massage, and channel. Sender and Receiver were people living in ethnic groups who had skills in understandable communication and could decode message codes. They had positive attitude toward their own dialects and ethnic groups Also, they had ability in passing on dialects through social systems, cultures, values and believes in their communities. Elderly persons, the sender, passed on their dialects by teaching descendants that were children and youth, by using dialects as medium of communication. Message was dialects which were used to communicate in daily life of each ethnic group. These dialects were Phu-Thai language, Yor language, So language, Yoi language and Kalerng language. Because they are in the same language family They only have different accents, but it could be used to communicate within one ethnic group or between different ethnic groups, excluding for So language. It could not be used to communicate between different groups because of language family. Channels in each ethnic group were talking, broadcast tower, speakers who used dialects in traditional festivals and local media which used dialects through radio to encourage and enhance the existing identity to be more outstanding. 2) Factors in dialect inheritance of ethnic groups in Sakon Nakhon province were family and society, including schools, friends and media. These factors had effects on each other in encouraging people in ethnic groups to absorb and accept their dialects until they could use them for communication.
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร