แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจจราจร สถานีตำรวจภูธรเมืองสกลนคร

Main Article Content

ร้อยตำรวจเอกภูวนาถ เครือตาแก้ว

Abstract

แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจจราจรสถานีตำรวจภูธรเมืองสกลนคร

WORK MOTIVATION OF THE TRAFFIC POLICE OFFICERS OF MUEANG SAKON NAKHON POLICE STATION

บทคัดย่อ
  การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ของข้าราชการตำรวจจราจร สถานีตำรวจภูธรเมืองสกลนคร ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการตำรวจจราจรในสังกัดสถานีตำรวจภูธรเมืองสกลนคร ที่ปฏิบัติงานในปี 2558 จำนวน 56 คน ทั้งนี้ผู้วิจัยเจาะจงที่จะใช้บุคลากรทั้งหมดเป็นหน่วยวิเคราะห์ จึงไม่ได้มีการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test ชนิดการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว Scheffe’s method
  ผลการวิจัย พบว่า
    1. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจจราจร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านลักษณะของงาน มีแรงจูงใจในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน มีแรงจูงใจในระดับมาก ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านรายได้และสวัสดิการ มีแรงจูงใจในระดับปานกลาง
    2. การเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจจราจร จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล สามารถสรุปผลได้ดังนี้
      2.1 จำแนกตามคุณลักษณะด้านเพศ งานเดือน และประสบการณ์การทำงาน พบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ทั้งในภาพรวม และรายด้าน ทุกด้าน ไม่มีความแตกต่างกัน
      2.2 จำแนกตามคุณลักษณะด้านวุฒิการศึกษา พบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานในภาพรวม ไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ด้านการปกครองบังคับบัญชา
      2.3 จำแนกตามคุณลักษณะด้านชั้นยศ พบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ทั้งในภาพรวม ไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ด้านการยอมรับนับถือ
      2.4 จำแนกตามคุณลักษณะด้านอายุ พบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ทั้งในภาพรวม ไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 3 ด้าน คือ 1) ด้านการปกครองบังคับบัญชา 2) ด้านการได้รับความสำเร็จ และ 3) ด้านความก้าวหน้า
    3. ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจจราจร ที่ควรนำไปศึกษาหาแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน มีจำนวน 4 ด้าน คือ 1) ด้านการปกครองบังคับบัญชา 2) ด้านสภาพการทำงาน 3) ด้านรายได้และสวัสดิการ และ 4) ด้านความก้าวหน้า


ABSTRACT
  The purpose of this study was to investigate motivation to work of traffic police officers, Mueang Sakon Nakhon Police Station. The population and sample were 56 traffic police officers in Mueang Sakon Nakhon Police Station who were in service in 2015. All personnel were used as an analytical unit, so the random sampling was not employed. The instrument used for collecting data was a questionnaire and statistics used to analyze data were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test which was followed by Scheffe’s method for pairwise comparison.
  The findings were as follows:
    1. Motivation to work of traffic police officers as a whole was at high level. Considering it by aspect, the one that gained the highest mean score was the work itself which possessed a high level of motivation. The next lower ranking aspect was relations with co-workers which possessed a high level too. The aspect that gained the lowest mean score was income and welfare which possessed a moderate level of motivation.
    2. As a comparison of motivation to work of traffic police officers was made as classified by personal background, it can be concluded as follows:
      2.1 As classified by sex, salary, and work experience, it was found that motivation to work as a whole and each aspect was not different.
      2.2 As classified by educational attainment, it was found that their motivation to work as a whole was not different. Considering it by aspect, the aspect of governing/commanding was significantly different at the .05 level.
      2.3 As classified by rank/class, it was found that their motivation to work as a whole was not different. Considering it by aspect, that of acceptance and respect was significantly different at the .05 level.
      2.4 As classified by age, it was found that their motivation to work as a whole was not different. Considering it by aspect, 3 aspects were significantly different at the .05 level, namely 1) governing/commanding, 2) achieving success, and 3) advancement.
    3. Motivation to work of traffic police officers of which its level should be brought to investigate a way in promoting and developing it coveres 4 aspects, namely 1) governing/commanding, 2) working conditions, 3) income and welfare, and 4) advancement.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

ร้อยตำรวจเอกภูวนาถ เครือตาแก้ว

นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร