การพัฒนารูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลด้านวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
Main Article Content
Abstract
การพัฒนารูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลด้านวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
DEVELOPMENT OF CHANGE MANAGEMENT MODEL OF DIRECTORS AFFECTING ACADEMIC EFFECTIVENESS OF SCHOOLS UNDER SAKON NAKHON PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลด้านวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 และ 2) ตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลด้านวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลด้านวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โดยวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร และประสิทธิผลด้านวิชาการของสถานศึกษา เพื่อร่างรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลง ระยะที่ 2 ตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลด้านวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 1 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหาร หัวหน้าวิชาการ และครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำนวน 399 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่ และมอร์แกน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (multi-stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) โดยมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.56-0.90 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลด้านวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1) ปัจจัยสนับสนุนการบริหารการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย บริบทภายในสถานศึกษา บริบทภายนอกสถานศึกษา การปรับตัวของผู้บริหารและครู และการพัฒนางานด้วยวิทยาการ 2) กระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลง มี 12 ขั้น ได้แก่ การสร้างวิสัยทัศน์การสร้างความตระหนัก การสร้างพลังที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลง การเลือกวิธีการและกลยุทธ์ในการแก้ปัญหา การสร้างทีมผู้นำ การกระจายอำนาจ การสร้างการสื่อสารทุกช่องทาง การสร้างชัยชนะระยะสั้น การสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง การรักษาการเปลี่ยนแปลงให้คงอยู่ และการสร้างการมีส่วนร่วมในการประเมินตรวจสอบ 3) ประสิทธิผลด้านวิชาการ ประกอบด้วย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ความพึงพอใจของครู และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน
2. ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าวิชาการ และครูมีความคิดเห็นต่อความเหมาะสมโดยรวมของรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่พัฒนาขึ้น ในระดับมาก
ABSTRACT
The purposes of this study were to 1) develop a change management model of directors affecting academic effectiveness of schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 and 2) verify the suitability of the author's change management model of directors affecting academic effectiveness of schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1. The study was divided into 2 phases. The first phase was the development of a change management model of directors affecting academic effectiveness of schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 by analyzing existing concepts, theories and relevant research reports on the change management of directors, as well as schools’ academic effectiveness, to draw up a change management model. The model draft was consequently assessed by 5 experts. Through multiple-choice questionnaire as an assessment tool, the experts all approved of the model draft at 100 percent. The second phase was the suitability verification of the author's change management model of directors affecting academic effectiveness of schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1. The sample group consisted of directors, head teachers of academic affairs and teachers under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1, totally 399. The sample size was determined in accordance with Krejcie & Morgan's table. Multi-stage sampling was also employed in this stage. Data collection tool was a rating scale questionnaire with IOC value between 0.80-1.00, discrimination power between 0.56-0.90 and overall reliability value at 0.99. Statistics applied in data analysis were means and standard deviation.
The findings were as follows:
1. Change management model of directors affecting academic effectiveness of schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 comprised 3 components, which were 1) change management support factor, which covered in school context, community context, adaptation of directors and teachers and work development through innovations; 2) change management process, which consisted of 12 steps, namely vision creation, awareness creation, the creation of power which could stimulate changes, planning for changes, the choosing of methods and strategies in problem solving, leader team building, power distribution, all-channel communication creation, short-term victory creation, continuous change creation, maintaining changes and creating participatory appraisal; 3) academic effectiveness, which included students' learning achievement, teacher satisfaction and students' desirable characteristics.
2. The overall opinion of school directors, head teachers of academic affairs and teachers on the author's change management model was at a high level.
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร