การพัฒนารูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23

Main Article Content

ลภัสรดา นาโควงค์

Abstract

การพัฒนารูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23

DEVELOPMENT OF TEACHER PERFORMANCE APPRAISAL MODEL IN SCHOOLS UNDER SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 23

บทคัดย่อ
   การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ พัฒนาและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการประเมิน ผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบ ดำเนินการโดย 1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) ร่างรูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน และ 3) นำรูปแบบไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คนพิจารณา ระยะที่ 2 การตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.36-0.80 และค่าความเชื่อมั่น 0.98 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 350 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อหาร้อยละ (Percentag), ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
   ผลการวิจัยพบว่า
      1. รูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23 มีทั้งหมด 8 องค์ประกอบ คือ 1) วัตถุประสงค์ของการประเมินผล ประกอบด้วย เพื่อกำหนดนโยบายด้านการบริหารงานบุคคล การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน การให้รางวัลประจำปี และค่าตอบแทนอื่นๆ การปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานของครู และการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารงาน 2) เนื้อหาสาระในการประเมินผล ประกอบด้วย ด้านการจัดการเรียน
การสอน ด้านการสนับสนุนการสอน และด้านวินัย คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผล ประกอบด้วยแบบตรวจสอบรายการ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และแบบรายงานตนเอง 4) เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินผล โดยกำหนดการให้คะแนนเป็นเชิงคุณภาพ ประเมินผลโดยพิจารณาจากคะแนนเฉลี่ยรวมทุกด้านและเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 5) ผู้ทำการประเมินผล ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน
รองผู้อำนวยการโรงเรียน ครูหัวหน้ากลุ่มงานหรือหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และตัวแทนครู 6) วิธีการประเมินผล พิจารณาจากปริมาณงาน ภาระงานที่ปฏิบัติ เอกสารต่างๆ ที่รับผิดชอบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความประพฤติของนักเรียน และความพึงพอใจของนักเรียน เพื่อนครู และผู้บริหาร 7) ระยะเวลาที่ใช้ในการประเมินผลคือ ปีละ 2 ครั้งในเดือนกันยายน และมีนาคม และ
8) การให้ข้อมูลย้อนกลับ ควรมีข้อมูลเรื่องจุดเด่น จุดบกพร่องหรือจุดที่ควรพัฒนาของผู้ถูกประเมิน และแนวทางแก้ไขเป็นลายลักษณ์อักษร
      2. ผลการตรวจสอบความเหมาะสมรูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 พบว่า มีความเหมาะสมโดยรวมในระดับมาก

ABSTRACT
   The purpose of this research was to to develop and verify the suitability of teacher performance appraisal model in schools under the Office of Secondary Educational Service Area 23. The study was divided into 2 phases. Phase 1 was the development of model, executed through 1) relevant concepts, theories and researches study, 2) performance appraisal model building, and 3) model verification by 5 experts. Phase 2 was the suitability verification of the model. Data collection was done through a set of rating scale questionnaire with discrimination value between 0.36 to 0.80 and reliability value at 0.98. The samples was totally 350, consisted of school administrators, head teachers of leaning substance group and teachers in secondary schools under the Office of Secondary Educational Service Area 23 in Academic Year 2014. In this regard, sample selection was done by multi-stage random sampling while data analysis was operated by a computer program to determine the percentage (%), mean ( ) and standard deviation (S.D.).
   The findings are as follows:
      1. Teacher performance appraisal model in Schools under the Office of Secondary Educational Service Area 23 is composed of 8 factors, namely 1) Appraisal objectives includes for the determining of human resources administrative policies, salary raise, annual bonus and other remuneration as well as for the improvement of teacher performance and administrative efficiency, 2) Appraisal content includes focusing on teaching management, teaching assistance as well as discipline, morals and code of ethics, 3) Appraisal instruments includes utilized in this study are check-list, rating scale questionnaire, observation form, interview form and self-assessment form, 4) Appraisal criteria includes using qualitative scoring and consequently appraise by considering all weighted mean scores and comparing with the appraisal criteria, 5) Appraisers includes school administrators and vice-administrators, head teachers of leaning substance group and representatives of teachers, 6) Appraisal method includes determined by workload, duties and documents responsible for learning achievement and students’ teachers’ and directors’ satisfaction, 7) Appraisal frequency are twice per year in September and March, and 8) Feedback through informing the appraise of his/her strong and weak points as well as the suggestions to improve his/her performance in written forms.
      2. Verification of the suitability of Teacher Performance Appraisal Model in Schools Under the Office of Secondary Educational Service Area 23 in an over all was at high level.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

ลภัสรดา นาโควงค์

นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร