การพัฒนารูปแบบการบริหารงานกิจการนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 :กรณีกิจกรรมชุมนุม, กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี-ยุวกาชาด และกิจกรรมสภาเรียน
Main Article Content
Abstract
การพัฒนารูปแบบการบริหารงานกิจการนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 :กรณีกิจกรรมชุมนุม, กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี-ยุวกาชาด และกิจกรรมสภาเรียน
THE DEVELOPMENT OF A MODEL ON THE STUDENT AFFAIRS MANAGEMENT IN SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF SAKON NAKHON PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA 3: A CASE STUDY OF CLUB ACTIVITIES, ACTIVITES ON SCOUTS, GIRL SCOUT-YOUTH RED CROSS AND STUDENT COUNCIL ACTIVITIES
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารงานกิจการนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบ โดยศึกษาแนวคิดทฤษฎี และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ศึกษาโรงเรียนดีเด่น จำนวน 1 โรงเรียน และนำร่างกรอบแนวคิดการวิจัยไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คนพิจารณา ระยะที่ 2 การตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.50-0.99 และค่าความเชื่อมั่น 0.99 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูหัวหน้าฝ่ายกิจกรรมนักเรียนและครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 364 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อหาร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย () และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการบริหารงานกิจการนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 มีทั้งหมด 2 องค์ประกอบ คือ 1) กระบวนการบริหารงานกิจการนักเรียน ประกอบด้วย การวางแผน การดำเนินงาน การติดตามประเมินผล และการปรับปรุงพัฒนา และ 2) ขอบข่ายงานกิจการนักเรียน ประกอบด้วย กิจกรรมชุมนุม กิจกรรมลูกเสือ
เนตรนารี-ยุวกาชาด และกิจกรรมสภานักเรียน 2. ผลการตรวจสอบความเหมาะสมรูปแบบการบริหารงานกิจการนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 พบว่า มีความเหมาะสมโดยรวมในระดับมาก
ABSTRACT
This research aimed to develop and verify the suitability of student affairs management in the schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 3. The study was divided into 2 phases: Phase 1- The development of model through relevant concepts, theories and document reviews. an exploration of 1 outstanding school and bringing the draft to 5 experts for consideration. Phase 2- The verification of suitability of the model. Data collection was done through a set of rating scale questionnaires with discrimination between 0.50 to 0.99 and reliability at 0.99. The samples consisted of school administrators, heads of student affairs and teachers in the schools in the academic year 2014. In this regard, sample selection was done by multi-stage random sampling. Data analysis was operated by a ready-made computer program to determine the percentage (%), mean () and standard deviation (S.D.). The findings were as follows: 1. The model of the student affairs management in the schools included 2 components: 1) The procedure of the student affairs management comprising: planning, action, monitoring and evaluation as well as improvement and development, and 2) The network of the student affairs management including: club activities, activities on scout, girl scout and youth red cross as well as school council activities. 2. The verification of the suitability of the student affairs management model in the schools revealed that the suitability was at the high level.
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร