ยุทธศาสตร์การจัดการแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผลในการป้องกันพื้นที่คุ้มครองป่าสงวนแห่งชาติหินหนามหน่อ แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

สินนะสอน แสงจันทะวง

Abstract

ยุทธศาสตร์การจัดการแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผลในการป้องกันพื้นที่คุ้มครองป่าสงวนแห่งชาติหินหนามหน่อ แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

STRATEGY TO MANAGE EFFECTIVE PARTICIPATION IN PROTECTION OF HINNAMNOR NATIONAL AREA, PROTECTED AREA, KHAMMOUANE PROVINCE, LAO PEOPLE DEMOCRATIC REPUBLIC

บทคัดย่อ
   การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการและแนวทางพัฒนาการจัดการแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผลในการป้องกันพื้นที่คุ้มครองป่าสงวนแห่งชาติหินหนามหน่อ 2) สร้างยุทธศาสตร์การจัดการแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผลในการป้องกันพื้นที่คุ้มครองป่าสงวนแห่งชาติหินหนามหน่อ และ 3) เพื่อการประเมินยุทธศาสตร์การจัดการแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผลในการป้องกันพื้นที่คุ้มครองป่าสงวนแห่งชาติหินหนามหน่อ แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 84 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
   ผลการวิจัยพบว่า
      1. สภาพปัญหา ความต้องการและแนวทางพัฒนาการจัดการแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผลในการป้องกันพื้นที่คุ้มครองป่าสงวนแห่งชาติหินหนามหน่อ แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในการร่วมคิด ร่วมวางแผน
ร่วมดำเนินการ ร่วมแก้ปัญหา ร่วมติดตามและประเมินผล และร่วมรับผลที่เกิดขึ้น พบว่า 1) ขาดการสื่อสาร และประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง 2) มีเฉพาะประชาชนที่ได้รับมอบหมายเท่านั้นได้เข้าร่วมดำเนินการ และ 3) การบริหารงานของบ้านและกลุ่มบ้านยังไม่เข้มแข็งและขาดวิธีการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม 4) ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นเพราะกลัวโทษจากทางราชการ และ 5) ประชาชนยังอาศัยพื้นที่คุ้มครองป่าสงวนแห่งชาติหินหนามหน่อในการทำมาหากินเพื่อดำรงชีวิตประจำวัน
      2. ยุทธศาสตร์การจัดการแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผลในการป้องกันพื้นที่คุ้มครองป่าสงวนแห่งชาติหินหนามหน่อ แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ คือ 1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากร 2) ยุทธศาสตร์การมอบหมาย อำนาจ หน้าที่รับผิดชอบ 3) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการการป้องกันพื้นที่คุ้มครองแห่งชาติหินหนามหน่อ และ 4) ยุทธศาสตร์การประเมินและวัดผล
      3. การประเมินยุทธศาสตร์การจัดการแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผลในการป้องกันพื้นที่คุ้มครองป่าสงวนแห่งชาติหินหนามหน่อ แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่พัฒนาขึ้น พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก (\bar{x} = 3.71)

ABSTRACT
   The purposes of this study were: 1) to investigate problem states, needs, and ways to the development of effective participation management on protection of Hinnamnor National Protected Area, 2) to create a strategy to manage effective participation in protection of Hinnamnor National Protected Area, and 3) to evaluate the effective participation management strategy in protection of Hinnamnor National Protected Area, Khammouane province, Lao People Democratic Republic. The target group was of 84 people. The instruments used in the study were a structured interview guide and a rating scale questionnaire. Statistics used in data analysis were percentage, mean, and standard deviation.
   The findings were as follows:
      1. The problem states, needs and ways to the development of effective participation management in protection of Hinnamnor National Protected Area, Khammouane province, Lao People Democratic Republic concerning the aspects of participation in thinking, planning, operating, problem solving, following-up as well as evaluating, and receiving the occurring results showed the following: 1) lack of broad communication and public relations; 2) only the assigned people could participate in operating; and 3) management of houses and house group was not strong and lacked a concrete practical method; 4) being afraid to express opinion because of being in fear of official punishment; and 5) people still wanted to live in the Hinnamnor National Protected Area in conducting their daily life.
      2. The management of effective participation in protection of Hinnamnor National Protected Area, Khammouane province, Lao People Democratic Republic comprises 4 strategies: 1) personnel development, 2) delegation of authority and responsibility, 3) management of protecting the Hinnamnor National Protected Area, and 4) measurement and evaluation.
      3. The result of evaluation of the developed strategy to manage effective participation in protection of Hinnamnor National Protected Area, Khammouane province, Lao People Democratic Republic as a whole was at high level (mean = 3.71).

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

สินนะสอน แสงจันทะวง

นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร