ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพทางกายและใจของพระสังฆาธิการวัยทองในเขตอำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร
Main Article Content
Abstract
ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพทางกายและใจของพระสังฆาธิการวัยทองในเขตอำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร
STRATEGY FOR ENHANCING KNOWLEDGE AND UNDERSTANDING ABOUT TAKING CARE OF MENTAL AND PHYSICAL HEALTH AMONG BUDDHISM ABBOTS IN THE GOLDEN YEARS IN THE PHON NAKAEW DISTRICT AREA, SAKON NAKHON PROVINCE
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการเสริมสร้างการดูแลสุขภาพทางกายและใจให้กับพระสังฆาธิการในวัยทองเขตอำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร 2) สร้างยุทธศาสตร์การเสริมสร้างการดูแลสุขภาพทางกายและใจ 3) ศึกษาผลการทดลองใช้ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพทางกายและใจ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพทางกายและใจ ได้แก่ พระสังฆาธิการวัยทองในเขตอำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสลนคร จำนวน 47 รูป ยุทธศาสตร์ที่ใช้คือ การอบรมเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบหาค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพทางกายของพระสังฆาธิการในวัยทอง พบว่า ไม่สะดวกในการเดินทางไปตรวจสุขภาพประจำปีกับโรงพยาบาล ขาดยาสามัญประจำบ้านที่จำเป็น โรคประจำตัวที่พบมาก ได้แก่ ความดันโลหิตสูง โรคหืดหอบ โรคทางสายตาและโรคปวดเมื่อยตามร่างกาย สาเหตุเพราะว่าขาดการดูแลสุขภาพเท่าที่ควรจากตนเองและญาติโยม ส่วนการดูแลสุขภาพทางใจใช้การนั่งสมาธิเพื่อกำหนดจิตให้บรรลุธรรมและความสงบสุข
2. ความต้องการเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพทางกายของพระสังฆาธิการ พบว่า ต้องการรูปแบบการบริหารร่างกายที่ทำได้ด้วยตนเองและต้องการให้เจ้าหน้าที่อนามัยเข้ามาตรวจสุขภาพประจำทุกปี
3. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพทางกายของพระสังฆาธิการ พบว่า ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยา และการรักษาตนเองในเบื้องต้น สิ่งที่พระสังฆาธิการในวัยทองต้องการมากที่สุดคือ การจัดอบรมสัมมนา ศึกษาดูงานเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ และความรู้ ความเข้าใจที่ต้องการ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคเหน็บชา
4. การสร้างยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพทางกายและใจของพระสังฆาธิการในวัยทองเขตอำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร ได้แก่ การวางแผนและการปฏิบัติตามแผนการให้การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพทางกายและใจของพระสังฆาธิการในวัยทองเขตอำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร
5. ผลการทดลองใช้ยุทธศาสตร์ พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และพระสังฆาธิการมีความพึงพอใจต่อยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพทางกายและใจ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ABSTRACT
The purposes of the study were: 1) to investigate the current state and need to enhance taking care of mental and physical heath among Buddhism abbots in the golden years in the Phon Nakwaew district area, Sakon Nakhon province. 2) to create a strategy to enhance taking care of mental and physical heath, and 3) to examine the result of implementing the strategy to enhance knowledge and understanding about taking care of mental and physical health. The target group used for enhancing knowledge and understanding about taking care of mental and and physical heath was of 47 Buddhism abbots in the Phon Nakwaew district area, Sakon Nakhon province. The instruments used comprised a structured interview guide and a 5-rating scale questionnaire. Statistics used to analysis data were percentage, mean, standard deviation, and t-test
The findings were as follows:
1. The current state of taking care of mental and physical heath among Buddhism abbots in the golden years was found that they felt inconvenient to travel to the hospital for annual heath examination. They lacked necessary common household remedy. Most of the chronic diseases found were high-blood pressure, asthma, defective vision and aching allover. They were caused by improper care from themselves and from the laity. As for the taking care of mental health, they usually meditated for fixing their mind to attain enlightenment and peacefulness.
2. The need to take self-care of physical health was found that the Buddhism abbots would like to have a type of exercise to do themselves and to have a heath officer to examine their heath yearly.
3. Knowledge and understanding about taking care of physical health among the Buddhism abbots was found that they lacked knowledge and understanding about using drugs and primary self-remedy. What the Buddhism abbots needed most was a training or seminar on taking care of health and knowledge and understanding needed was about diabetes, high-blood pressure and beriberi.
4. The strategy created for enhancing knowledge and understanding about taking care of physical health among the Buddhism abbots in the golden years in the Phon Nakaew district area, Sakon Nakhon province was a plan and implementation of it to give a training workshop or knowledge and understanding about taking self-care of their mental and physical health.
5. The result of implementing the strategy was found that the mean score after the training was significantly higher than that before the training at the .01 level and satisfaction with the strategy as a whole was at the highest level.
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร