การสร้างสรรค์ภาพถ่ายเพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทย

Main Article Content

ดร.ประทีป สุธาทองไทย

Abstract

การสร้างสรรค์ภาพถ่ายเพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทย

CONSTRACTING THAI HISTORY THROUGH POSTPRODUCTION PHOTOGRAPHY

บทคัดย่อ
   โครงการวิจัยเชิงสร้างสรรค์เรื่อง การสร้างสรรค์ภาพถ่ายเพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทย ได้แรงบันดาลใจผลการศึกษาที่ท้าทายต่อการมีตัวตนของบุคคลผู้สร้างวีรกรรม ที่ได้เผยให้เห็นว่าสิ่งที่เป็นความจริงในประวัติศาสตร์ชาติไทยถูกประกอบสร้างขึ้นมาอย่างไร มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาความเปลี่ยนแปลงและจุดมุ่งหมายการสร้างอนุสาวรีย์ในประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2475 – 2500 2) สร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายเทคนิคผสมจากภาพอนุสาวรีย์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 3) นำผลงานสร้างสรรค์ไปใช้เป็นสื่อการเรียนรู้อุดมการณ์การสร้างอนุสาวรีย์ในประวัติศาสตร์ไทย
   ผลจากการศึกษาพบว่า อนุสาวรีย์ในประเทศไทยที่สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2475 – 2500 เป็นการนำวีรกรรมในประวัติศาสตร์ชาติไทยในอดีตมาปรับใช้ให้เป็นสื่อสะท้อนอุดมคติและอุดมการณ์ทางการเมืองในช่วงเวลาดังกล่าว โดยอาศัยความเหมือนจริงทางศิลปะเป็นเครื่องมือโน้มน้าวความคิดและความรู้สึกของคนในสังคมให้รับรู้ถึงการมีตัวตนของบุคคลผ่านภาพลักษณ์ของอนุสาวรีย์ ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นต้นแบบของการสร้างภาพเสมือนบุคคลที่เกิดขึ้นจากการตัดต่อภาพถ่ายบุคคลลงบนภาพอนุสาวรีย์ที่ได้ทำการศึกษา จำนวน 3 ชิ้น เพื่อเป็นสื่อเน้นย้ำจุดมุ่งหมายของการสร้างอนุสาวรีย์ และนำผลงานสร้างสรรค์มาใช้เป็นสื่อประกอบบทเรียนในวิชาในรายวิชาศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย

ABSTRACT
   This research undertaking is inspired by questioning Thai historical figures’ existences, political purposes of a particular time, social sphere and deployment of realism in monumental public art projects—all of which may perhapshelp reveal how Thai’s history was constructed. Purposes: 1) To look into social changes and aims in erecting public monuments in Thailand between 1932-1957. 2) To humanized heroic figures’ facial features in public monuments that were made by bronze using contemporary photographic techniques. 3) To use such result as educational material to inform ideology in erecting public monument in Thai history.The research finds that public monuments in Thailand built between 1932-1957 manipulated past heroic cases to support political ideals of that particular time. By reflected as such, realism tactic in bronze casting was deployed to convey consensus of signifiers as well as to declare the existence of such figures and events through public monuments. The bronze facial features of three monuments then were made into three flat corporeal representations using computer graphic techniques. The finished works will be used as educational material to emphasize various goals in erecting historical public monuments in Thai contemporary art course.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

ดร.ประทีป สุธาทองไทย

คณะศิลปกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม