บทบาทในการสร้างหมู่บ้านปลอดยาเสพติดของกำนันผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร

Main Article Content

จ่าเอกเกรียงศักดิ์ จอดนอก

Abstract

บทบาทในการสร้างหมู่บ้านปลอดยาเสพติดของกำนันผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร

THE ROLE IN CREATION OF A DRUG-FREE VILLAGE OF SUB-DISTRICT CHIEFS AND VILLAGE HEADMEN IN KUSUMAN DISTRICT, SAKON NAKHON PROVINCE

บทคัดย่อ
   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทในการสร้างหมู่บ้านปลอดยาเสพติด ของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ในพื้นที่อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร 2) เพื่อศึกษาความแตกต่างของระดับความคิดเห็นต่อบทบาทของกำนันผู้ใหญ่บ้านในการสร้างหมู่บ้านปลอดยาเสพติดในพื้นที่อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร แตกต่างกันตามคุณลักษณะส่วนบุคคล กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ประชากรที่อยู่อาศัยในพื้นที่อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร จำนวน 395 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้ค่าความเชื่อมั่น .95 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
   ผลการวิจัย พบว่า
      1. บทบาทของกำนันผู้ใหญ่บ้านในการสร้างหมู่บ้านปลอดยาเสพติดในพื้นที่อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านการเป็นผู้วางแผนโครงการ, ด้านการเป็นผู้กระตุ้น, ด้านการเป็นผู้ประสานงาน, ด้านการเป็นสื่อของการพัฒนา, ด้านการเป็นผู้ติดต่อหรือเป็นตัวแทน และด้านการเป็นผู้ให้ความรู้และชี้แนะแก้ไขปัญหา ตามลำดับ
      2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อบทบาทของกำนันผู้ใหญ่บ้านในการสร้างหมู่บ้านปลอดยาเสพติดในพื้นที่อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล สามารถสรุปผลได้ดังนี้
         2.1 จำแนกตามคุณลักษณะด้านเพศ พบว่า ความคิดเห็นที่มีต่อบทบาทของกำนันผู้ใหญ่บ้านในการสร้างหมู่บ้านปลอดยาเสพติดในพื้นที่อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ในภาพรวม ไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 3 ด้าน คือ 1) ด้านการเป็นผู้วางแผนโครงการ 2) ด้านการเป็นผู้กระตุ้น และ 3) ด้านการเป็นผู้ประสานงาน
         2.2 จำแนกตามคุณลักษณะด้านอายุ และด้านระยะเวลาที่อยู่อาศัย พบว่า ความคิดเห็นที่มีต่อบทบาทของกำนันผู้ใหญ่บ้านในการสร้างหมู่บ้านปลอดยาเสพติดในพื้นที่อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ในภาพรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 2 ด้าน คือ 1) ด้านการเป็นผู้ประสานงาน และ 2) ด้านการเป็นผู้ติดต่อหรือเป็นตัวแทน
         2.3 จำแนกตามคุณลักษณะด้านอาชีพ ระดับการศึกษา พบว่า ความคิดเห็นที่มีต่อบทบาทของกำนันผู้ใหญ่บ้านในการสร้างหมู่บ้านปลอดยาเสพติดในพื้นที่อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ในภาพรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 3 ด้าน คือ 1) ด้านการเป็นผู้วางแผนโครงการ 2) ด้านการเป็นผู้ประสานงาน และ 3) ด้านการเป็นผู้ติดต่อหรือเป็นตัวแทน
         2.4 จำแนกตามคุณลักษณะด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า ความคิดเห็นที่มีต่อบทบาทของกำนันผู้ใหญ่บ้านในการสร้างหมู่บ้านปลอดยาเสพติดในพื้น¬ที่อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ในภาพรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 3 ด้าน คือ 1) ด้านการเป็นผู้กระตุ้น 2) ด้านการเป็นผู้ประสานงาน และ 3) ด้านการเป็นผู้ติดต่อหรือเป็นตัวแทน
         2.5 จำแนกตามคุณลักษณะด้านเขตพื้นที่อยู่อาศัย พบว่า ความคิดเห็นที่มีต่อบทบาทของกำนันผู้ใหญ่บ้านในการสร้างหมู่บ้านปลอดยาเสพติดในพื้น¬ที่อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ในภาพรวม ไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 1 ด้าน คือ ด้านการเป็นผู้กระตุ้น

ABSTRACT
   The purposes of this study were: 1) to investigate the role in creating a drug-free village of sub-district chiefs and village headmen in the Kusuman district area, Sakon Nakhon province, 2) to examine a difference in degrees of opinion on the role of sub-district chiefs and village headmen in creating a drug-free village in Kusuman district, Sakon Nakhon province based on personal background. The target group used in study was a population of 395 who lived in the Kusuman district area, Sakon Nakhon province. The instrument for collecting data was a questionnaire with a reliability value of .95 and statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and one-way ANOVA.
   The findings disclosed as follows:
      1. The role of sub-district chiefs and village headmen in creating a drug-free village in the Kusuman district area, Sakon Nakhon province as a whole was at moderate level which included the aspects by rank order respectively, namely being a maker of project plan, being a stimulator, being a coordinator, being a medium of development, being a communicator or representative, and being a provider of knowledge and one who suggests how to solve the problem.
      2. The comparison of opinion of respondents as classified by personal background on the role of sub-district chiefs and village headmen in creating a drug-free village in the Kusuman district area, Sakon Nakhon province can be concluded as follows:
         2.1 As classified by sex, it was found that the opinion on the role of sub-district chiefs and village headmen in creating a drug-free village in the Kusuman district area, Sakon Nakhon province as a whole showed no difference. Considering it by aspect, it was found significantly different at the .05 level in 3 aspects, namely 1) being a maker of project plan, 2) being a stimulator, and 3) being a coordinator.
         2.2 As classified by age and length of living time, it was found that the opinion on the role as a whole showed a significant difference at the .05 level. Considering it by aspect, 2 aspects were found significantly different at the .05 level, namely 1) being a coordinator, and 2) being a communicator or representative.
         2.3 As classified by occupation and educational attainment, it was found that the opinion on the role as a whole showed a significant difference at the .05 level. Considering it by aspect, 3 aspects were found significantly different at the .05 level, namely 1) being a maker of project plan, 2) being a coordinator, and 3) being a communicator or representative.
         2.4 As classified by income per month, it was found that the opinion on the role as a whole showed a significant difference at the .05 level. Considering it by aspect, 3 aspects were found significantly different at the .05 level, namely 1) being a stimulator, 2) being a coordinator, and 3) being a communicator or representative.
         2.5 As classified by residential area, it was found that the opinion on the role as a whole showed no difference. Considering it by aspect, one aspect was found significantly different at the .05 level, namely being a stimulator.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

จ่าเอกเกรียงศักดิ์ จอดนอก

นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร