การบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
Main Article Content
Abstract
การบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
PERSONNEL ADMINISTRATION BASED ON GOOD GOVERNANCE OF LOCAL ADMINISTRATION ORGANIZATIONS IN THE PHANNA NIKHOM DISTRICT AREA, SAKON NAKHON PROVINCE
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาล ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาล ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ3) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนา การบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาล ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จำนวน 194 คน การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการคำนวณของ Taro Yamane เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่า t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ โดยวิธีหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ระดับการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านหลักความโปร่งใส รองลงมาด้านหลักคุณธรรม
ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักความรับผิดชอบ และด้านหลักความคุ้มค่าตามลำดับ
2. การเปรียบเทียบระดับการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ด้านเพศ ไม่แตกต่างกัน ด้านอายุ ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านสถานภาพการสมรสไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านหลักความรับผิดชอบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านระดับการศึกษา ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านหลักการมีส่วนร่วม และหลักความคุ้มค่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านตำแหน่งไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านหลักความโปร่งใส แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านหลักคุณธรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และด้านรายได้ ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านหลักความคุ้มค่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. แนวทางพัฒนาการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร มีจำนวน 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านหลักนิติธรรม 2) ด้านหลักความรับผิดชอบ และ 3) ด้านหลักความคุ้มค่า
ABSTRACT
The purposes of this study were: 1) to investigate personnel administration based on good governance of local administration organizations in the Phanna Nikhom districts area, Sakon Nakhon province, 2) to compare the degree of personnel administration based on good governance of local administration organizations in the Phanna Nikhom district area, Sakon Nakhon province according to the personal background, and 3) to propose a way to administration of personnel based on good governance of local administration organizations in the Phanna Nikhom district area, Sakon Nakhon province. It was a survey research whose data were collected from a sample of 194 personnel of local administration organizations in the Phanna Nikhom districts area, Sakon Nakhon province. The instrument used to collect data was a questionnaire whose entire reliability value was .97. The sample size was determined using Taro Yamane’s formula for calculation. Data analysis was done using frequency, percentage, standard deviation, t-test and one-way ANOVA for hypothesis testing. In case a significant difference was found, a pairwise comparison would be conducted using the LSD (least significant difference) method.
The findings disclosed as follows:
1. Personnel administration based on good governance of local administration organizations in the Phanna Nikhom district area, Sakon Nakhon province as a whole and each aspect was at moderate level. The aspects as arranged by rank order respectively were those of transparency principle, morality principle, participation principle, legality principle, accountability principle, and worth-the-expense principle.
2. In a comparison of the degree of personnel administration basing on good governance of local administration organizations in the Phanna Nikhom district area, Sakon Nakhon province according to the personal background of sex, it was found that different sexes did not show a different opinion while different ages showed a significant difference as a whole at the .01 level. Marital statuses showed no difference as a whole but showed a significant difference at the .05 level in the aspect of accountability principle. Educational attainments showed no difference as a whole but showed a significant difference at the .01 level in the aspects of participation principle and being worth-the-expense principle. Positions showed no difference as a whole but showed a significant difference at the .05 level at the .01 level in the aspect of transparency principle. Lengths of time occupying the position showed a significant difference at the .01 level as a whole but showed a significant difference at the .05 level in the aspect of morality principle. And incomes showed no difference as a whole but showed a significant difference at the .05 level in the aspect of being worth-the –expense principle.
3. A way to administration of personnel based on good governance of local administration organizations in the Phanna Nikhom districts area, Sakon Nakhon province comprises 3 aspects: 1) legality principle, 2) accountability principle, and 3) being worth-the-expense principle.
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร