สุขภาพองค์การขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

Main Article Content

พงษ์เทพ โรจน์วิรัตน์

Abstract

สุขภาพองค์การขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

ORGANIZATIONAL HEALTH OF LOCAL ADMINISTRATION ORGANIZATIONS IN THE THAT PHANOM DISTRICT AREA, NAKHON PHANOM PROVINCE

บทคัดย่อ
   การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย (1) เพื่อศึกษาระดับสุขภาพองค์การขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อสุขภาพองค์การขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานเทศบาล พนักงานตำบล พนักงานจ้าง จำนวน 243 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดตรวจสอบรายการและมาตราส่วนประมาณค่าและมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์โดยใช้สถิติค่า t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ด้วยค่า F-test หากพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะใช้การเปรียบรายคู่ด้วยวิธีการทดสอบแบบ Least Significant Difference (LSD)
  ผลการวิจัยพบว่า
    1. ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เพศหญิง ร้อยละ 56.8 มีอายุระหว่าง 31–40 ปี ร้อยละ 43.6 สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 42.4 มีระยะเวลาการทำงาน ตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปมากที่สุด ร้อยละ 42.8
    2. สุขภาพองค์การขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (\bar{x} = 3.78)
    3. การเปรียบเทียบสุขภาพองค์การของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล สามารถสรุปผลได้ดังนี้
      3.1 จำแนกตามคุณลักษณะด้านเพศ พบว่า สุขภาพองค์การของบุคลากร ทั้งในภาพรวม และรายด้านทุกด้าน ไม่มีความแตกต่างกัน
      3.2 จำแนกตามคุณลักษณะด้านอายุ พบว่า สุขภาพองค์การของบุคลากร ในภาพรวมไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 1 ด้าน คือ ด้านการใช้อำนาจอย่างเป็นธรรม
      3.3 จำแนกตามคุณลักษณะด้านระดับการศึกษา พบว่า สุขภาพองค์การของบุคลากร ในภาพรวม ไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีความแตกต่างกันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 1 ด้าน คือ ด้านความสมัครสมานสามัคคี
      3.4 จำแนกตามคุณลักษณะด้านระยะเวลาการทำงาน พบว่า สุขภาพองค์การของบุคลากร ในภาพรวม ไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีความแตกต่างกันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 1 ด้าน คือ ด้านการใช้อำนาจอย่างเป็นธรรม

ABSTRACT
   The purposes of this study were: (1) to investigate organizational health of local administration organizations in the That Phanom district area, Nakhon Phanom province, (2) to compare the opinion on organizational health of local administration organizations in the That Phanom district area as classified by personal background. A sample used was a total of 243 people comprising municipality employees, sub-district employees and hired persons. The instrument used was a check list and rating scale questionnaire, and reliability value was .97. Statistics used to analyze data were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and one-way ANOVA. In case a means difference was significantly found, this author would use the LSD method to make a pairwise comparison.
  The findings revealed as follows:
     1. The general background of the sample showed that most of them were female comprising 56.8%; 43.6% had their age in the 31-40 age range; 42.4% graduated with a bachelor’s degree; 42.8% had work experience of 5 years or over.
    2. Organizational health of local administration organizations in the That Phanom district area, Nakhon Phanom province as a whole was at high level (mean = 3.78).
    3. The comparison of organizational health of local administration organizations in the That Phanom district area, Nakhon Phanom province could be concluded as follows:
      3.1 As classified by sex, it was found that organizational health of personnel in local administration organizations was not different as a whole and each aspect.
      3.2 As classified by age, it was found that organizational health of personnel in local administration organizations was not different. Considering it by aspect, it was found significantly different at the .01 level in one aspect, namely using the power justly.
      3.3 As classified by educational attainment, it was found that organizational health of personnel in local administration organizations as a whole was not different. Considering it by aspect, it was found significantly different at the .05 level in one aspect, namely uniting in harmony.
      3.4 As classified by work experience, it was found that organizational health of personnel as a whole was not different. Considering it by aspect, it was found significantly different at the .05 level in one aspect, namely using the power justly.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

พงษ์เทพ โรจน์วิรัตน์

นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร