การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่องป่าชุมชนนาบอน กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

วิจิตร วิไลพรหม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายคือ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่องป่าชุมชนนาบอน สำหรับนักเรียน


ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตร ดังนี้  2.1 พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน  2.2  เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน  2.3  ศึกษาคุณลักษณะความมีจิตสาธารณะ  กลุ่มผู้ให้ข้อมูลมี จำนวน  123  คน  ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  กลุ่มเป้าหมายในการใช้หลักสูตร  คือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่  2  ที่เลือกเรียนรายวิชาเพิ่มเติม  จำนวน  30  คน  ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  แบบสอบถามความต้องการในการพัฒนาหลักสูตร  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  จำนวน  30  ข้อ  มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่  0.24-0.83  ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ  0.79  แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์  เป็นแบบอัตนัย  จำนวน  4  ข้อ  มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่  0.50-0.67  


ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ  0.88  และแบบวัดจิตสาธารณะ  จำนวน  18  ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่  .26-.74  มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ  0.84  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานใช้สถิติทดสอบที  ผลการวิจัยปรากฏดังนี้  ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษา ครูสายผู้สอน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน มีความต้องการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม อยู่ในระดับมากที่สุด   ผลการพัฒนาหลักสูตร  โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  มีค่าความสอดคล้องอยู่ระหว่าง  0.80 ถึง 1.00  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน คิดเป็นร้อยละ  84.11  และนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ทุกคน  มีความคิดสร้างสรรค์หลังเรียน  คิดเป็นร้อยละ  81.83  และมีความคิดสร้างสรรค์หลังเรียน  สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01  และมีพฤติกรรมด้านจิตสาธารณะโดยรวมอยู่ในระดับมาก 

Article Details

Section
บทความวิจัย