ปัญหามาตรการทางกฎหมายการแสดงฉลากโภชนาการ : ศึกษากรณีไขมันทรานส์
Main Article Content
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายการแสดงฉลากโภชนาการกล่าวอ้างข้อมูลสารอาหารที่มีไขมันทรานส์ เนื่องจากประกาศกระทรวงสาธารณสุข ออกโดยอาศัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 บังคับให้แสดงฉลากโภชนาการมีอยู่ด้วยกัน 3 ฉบับ ได้แก่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 182) พ.ศ. 2541 เรื่อง ฉลากโภชนาการ และประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 219) พ.ศ. 2544 เรื่อง ฉลากโภชนาการ (ฉบับที่ 2) และประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 374) พ.ศ. 2559 เรื่อง อาหารที่ต้องแสดงฉลากโภชนาการ และค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียมแบบจีดีเอ แต่ไม่ได้มีการกำหนดให้แสดงไขมันทรานส์เป็นข้อมูลสารอาหารต้องกล่าวอ้างบนฉลากโภชนาการไว้ จากการศึกษาพบว่าไขมันทรานส์เป็นไขมันที่อันตรายมากกว่าไขมันประเภทอื่นๆ และเป็นสาเหตุปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดอุดตัน และโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่นๆ ในปัจจุบันพบว่าผู้ประกอบการนำไขมันทรานส์มาเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อาหารที่นิยมบริโภคในทุกช่วงวัยทั้งผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้น หากมีการกำหนดให้แสดงไขมันทรานส์บนฉลากโภชนาการ จะเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับข้อมูลอันเป็นข้อเท็จจริงถูกต้องและเพียงพอต่อการเลือกบริโภคและเพื่อพัฒนากฎหมายให้มีประสิทธิภาพต่อไป
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร