การพัฒนาองค์การสู่การเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูงของสำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
Abstract
การพัฒนาองค์การสู่การเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูงของสำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
AN ORGANIZATIONAL DEVELOPMENT INTO HIGH PERFORMANCE ORGANIZATION OF THE PROVINCIAL EMPLOYMENT OFFICES IN THE NORTHEAST
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาองค์การสู่การเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูงของสำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาองค์การสู่การเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูงของสำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาองค์การสู่การเป็นองค์การทีมีขีดสมรรถนะสูงของสำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรของสำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 223 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างจากสูตรทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ การแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบ One sample และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ระดับการพัฒนาองค์การสู่การเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูงของสำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีมากกว่าร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
2. ปัจจัยด้านโครงสร้างองค์การ ปัจจัยด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเอง ปัจจัยด้านการบริหารยุทธศาสตร์ และปัจจัยด้านแรงจูงใจมีอิทธิพลต่อการพัฒนาองค์การสู่การเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูงของสำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยสามารถทำนายความแปรปรวนของการพัฒนาองค์การสู่การเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูงของสำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ร้อยละ 81.50 (R2 = .815) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
3. ข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาองค์การสู่การเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูงของสำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สำคัญ ได้แก่ ควรสร้างวัฒนธรรมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน ควรมีการจัดอบรมและศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาบุคลากรทุกระดับอยู่อย่างต่อเนื่อง และควรพัฒนา/ปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทันสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
ABSTRACT
The purposes of this research were 1) to study an organizational development’s level into high performance organization of the Provincial Employment Offices in the Northeast, 2) to study factors influencing an organizational development into high performance organization of the Provincial Employment Offices in the Northeast, and 3) to recommend for improvement of the organizational development into high performance organization of the Provincial Employment Offices in the Northeast. The samples were 223 officials, calculated by Taro Yamane’s formula at the confident level at 95%. The instruments used in the research were questionnaires. Statistical tools employed were percentage, mean, standard deviation, one simple t-test, stepwise multiple regression and content analysis to analyze qualitative data.
The main research findings were as follow:
1. An organizational development’s level into high performance organization of the Provincial Employment Offices in the Northeast was higher than 70% at .05 level of statistical significance.
2. Organizational structure, self esteem, strategic management, and motivation affected an organizational development into high performance organization of the Provincial Employment Offices in the Northeast which could totally explain the dependent variables at 81.50 (R2 = .815) with .05 level of statistical significance.
3. The recommendations for improvement of the organizational development into high performance organization of the Provincial Employment Offices in the Northeast included: the organization should create a culture of knowledge sharing and work experience to enhance the ability of practitioners, arrange training activities and study tour for developing all levels of practitioners continuously, and develop or improve of modern information technology systems to enhance the performance.
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร