ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการจัดทำบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

วันวิสา สุทธิประภา

Abstract

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการจัดทำบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
FACTORS INFLUENCING THE EFFECTIVENESS IN THE PROVISION OF PUBLIC SERVICE OF SUB-DISTRICT MUNICIPALITIES IN SELA PHUM DISTRICT, ROI ET PROVINCE

 

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลในการจัดทำบริการสาธารณะ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการจัดทำบริการสาธารณะ และวิเคราะห์หาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และสิ่งคุกคามในการจัดทำบริการสาธารณะ รวมทั้งเสนอแนะเชิงกลยุทธ์ในการจัดทำบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ประชากรที่ใช้ศึกษาเป็นบุคลากรของเทศบาลตำบลในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 529 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 228 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ดำเนินการวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์ SWOT

            ผลการวิจัย พบว่า

                 1. ประสิทธิผลในการจัดทำบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

                 2. ปัจจัยด้านความพร้อมของทรัพยากร ปัจจัยด้านข้อมูลข่าวสาร ปัจจัยด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ปัจจัยด้านขั้นตอนและระยะเวลาในการให้บริการ และปัจจัยด้านรูปแบบการให้บริการมีอิทธิพลต่อระดับประสิทธิผลในการจัดทำบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยสามารถทำนายความแปรปรวนรวมกันได้ร้อยละ 77 (R2 =.770) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                 3. จุดแข็งในการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด คือ บุคลากรมีจำนวนเพียงพอต่อการให้บริการสาธารณะ จุดอ่อนคือ งบประมาณมีไม่เพียงพอต่อการพัฒนา โอกาสคือ สามารถติดต่อประสานงานกับหน่วยงานอื่นได้ดี อุปสรรค คือ มีประชากรแฝงมากขึ้น การให้บริการทำได้ไม่ทั่วถึง

                 4. กลยุทธ์ในจัดทำบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด คือ ควรเพิ่มโอกาสในการประสานงานกับหน่วยงานอื่น รวมไปถึงควรส่งเสริมการประหยัดงบประมาณในส่วนที่ไม่จำเป็น หรือของบประมาณเพิ่มเติมในกรณีเร่งด่วน

ABSTRACT

            The purposes of this research were to study the effectiveness’s level and factors influencing the provision of public service, study strength, weakness, opportunity and threat of public services, and recommend strategies for improvement of the provision of public services of sub-district municipalities in Sela Phum district, Roi Et Province. Population consisted of 529 sub-district municipalities’ officials represented. Samples were 228 officials. The instruments used in the research were questionnaires. Statistical tools employed were percentage, mean, standard deviation, stepwise multiple regression and SWOT analysis to analyze qualitative data.

            The main research findings were as follow:

1. The effectiveness in the provision of public service of sub-district municipalities in Sela Phum district, Roi Et Province, as a whole and each aspect, was at a high level.

2. Five factors consisted of readiness of resources, information, service officers, process and time of service, and types of service affected the effectiveness in the provision of public service of sub-district municipalities in Sela Phum district, Roi Et Province which could totally explain the dependent variables at 77% (R2 =.770) with .05 level of statistical significance.

3. The strength in the public services of sub-district municipalities in Sela Phum district, Roi Et Province was having enough quantity of operating personnel with effective services, the weakness was the lack of budget for development, opportunity was the Potential of internal coordination of each agency and external coordination between agencies, and threat was more non registered population that made it hard to delivery public service for those population.

4. Strategies for improvement the provision of public service of sub-district municipalities in Sela Phum district, Roi Et Province included: the organization should coordinate with more other agencies and promote saving budget or request funds in case of emergency.

Article Details

Section
บทความวิจัย