การเปรียบเทียบผลของการเต้นโคพเวอร์กับการเต้นแอโรบิกที่มีต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของวัยรุ่นหญิง

Main Article Content

สุรางค์รัตน์ วงษ์ป้อม

Abstract

การเปรียบเทียบผลของการเต้นโคพเวอร์กับการเต้นแอโรบิกที่มีต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของวัยรุ่นหญิง
COMPARISON THE EFFECT OF COVER DANCE AND AEROBIC DANCE ON SELF ESTEEM AMONG TEENAGE FEMALES

 

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ เป็นวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการเปลี่ยนแปลงของการเห็นคุณค่าในตนเองในวัยรุ่นหญิง โดยการฝึกเต้นโคพเวอร์ กับวัยรุ่นหญิงที่ฝึกเต้นแอโรบิก กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยวัยรุ่นหญิงอายุเฉลี่ย 16.43±0.71 ปี ที่กำลังศึกษาในระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ในจังหวัดอุดรธานี แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 43 คนได้รับการฝึกโดยฝึกเต้นโคพเวอร์และฝึกเต้นแอโรบิก ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกเต้นทั้งสองกลุ่ม 12 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 50 นาที เพื่อให้ความหนักของการออกกำลังกายไม่ต่างกัน จึงกำหนดให้ใช้จังหวะเพลงที่เท่ากัน คือในช่วงประมาณ 128-160 จังหวะต่อนาทีเป็นเวลา 50 นาที การประเมินการเห็นคุณค่าในตนเอง โดยใช้แบบทดสอบ The Five-Scale Test of Self-Esteem for Children ฉบับภาษาไทย ใช้สถิติ paired samples t-test ในการประเมินความแตกต่างของตัวแปรภายในกลุ่ม เปรียบเทียบผลก่อนและหลังการทดลองภายในทั้งสองกลุ่ม ใช้สถิติ Independent samples t-test ในการประเมินค่าความแตกต่างของทุกตัวแปรระหว่างกลุ่ม ทั้งก่อนและหลังได้รับการฝึก

            ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง 12 สัปดาห์ ทั้งสองกลุ่มมีการพัฒนาที่ดีขึ้นในตัวแปรทุกด้านของการเห็นคุณค่าในตนเอง ในการเปรียบเทียบการมองเห็นคุณค่าในตัวเอง หลังการทดลอง ระหว่างทั้งสองกลุ่ม พบว่า ไม่มีความแตกต่างระหว่างทั้งสองกลุ่มทางสถิติ สรุปผลการวิจัย พบว่า การเต้นโคพเวอร์ สามารถพัฒนาตัวแปรทุกด้านของการเห็นคุณค่าในตนเอง และสามารถใช้ในการออกกำลังกายในเวลาว่าง หรือใช้เป็นกิจกรรมในห้องเรียนได้เทียบเท่ากับการเต้นแอโรบิก

 

ABSTRACT

                 Present research was a quasi-experimental design. The purpose of this study was to compare the effects of cover dance and aerobic dance on self-esteem among female teenagers. Subjects consisted of 16.43 ±0.71 years old teenage females who were studying at the certificate level from two vocational schools in Udonthani Province. They were divided into two groups with 43 subjects in each group. They received training by the cover dance and aerobic dance. The duration of training for both groups was 12 weeks, three days per week, 50 minutes per day. To ensure the similar the intensity of the exercise, the speed of the steps was set by controlling the rhythm of the music to be about 128-160 beat per minute for the 50 minutes. The Five-Scale Test of Self-Esteem for Children (Thai version) was used to measure self-esteem. Paired samples t-test was used to evaluate differences of these variables within each group. Independent samples t-test was used to evaluate variables between groups before and after received training. 

            Results showed that after 12 weeks, both groups had higher scores for all self-esteem outcomes. Comparison of self-esteem after the trial between both groups found that there were no statistically significantly different between both groups. Conclusion, the result showed that the cover dance with the rhythm about 128-160 beat per minute can improve in all self-esteem outcomes and be used to exercise in leisure time or in a classroom equally effective as the aerobic dance.

Article Details

Section
บทความวิจัย