ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้ตามแนวคิดของโนนากะและทาเกอูชิกับประสิทธิผลของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในสังกัดกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 2
Main Article Content
Abstract
ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้ตามแนวคิดของโนนากะและทาเกอูชิกับประสิทธิผลของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในสังกัดกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 2
THE RELATIONSHIP BETWEEN NONAKA AND TAKEUCHI’S KNOWLEDGE MANAGEMENT MODEL AND EFFECTIVENESS OF THE BORDER PATROL POLICE SCHOOLS UNDER THE BORDER PATROL POLICE REGION 2
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการจัดการความรู้ของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในสังกัดกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 2 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในสังกัดกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 2 และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้กับประสิทธิผลของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในสังกัดกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 2 ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในสังกัดกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 2 จำนวน 167 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตรวัดประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการจัดการความรู้ของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน อยู่ในระดับมากทั้งโดยรวมและรายด้าน 2) ระดับประสิทธิผลของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน อยู่ในระดับมากทั้งโดยรวมและรายด้าน และ
3) ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้กับประสิทธิผลของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในสังกัดกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 2 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ มีค่าความสัมพันธ์เท่ากับ .258 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ABSTRACT
The purposes of this research were to study 1) the level of knowledge management of the border patrol police schools under the border patrol police region 2, 2) the level of the effectiveness of the border patrol police schools under the border patrol police region 2, and 3) the relationship between the knowledge management and the effectiveness of the border patrol police schools under the border patrol police region 2.
The sample group in this research, selected using Krejcie and Morgan’s table and simple random sampling method, was consisted of 167 administrators and teachers in the border patrol police schools under the border patrol police region 2. The research instrument used for collecting data was Likert five-point scale questionnaires with 69 items related on Nonaka and Takeuchi’s knowledge management model and the effectiveness of the border patrol police schools under the border patrol police region 2. The data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s product moment correlation coefficient to determine the relationship.
The research showed that 1) the level of knowledge management of the border patrol police schools as a whole and on all aspects was at the high level, 2) the level of the effectiveness of the border patrol police schools as a whole and on all aspects was at the high level, and 3) the relationship between the knowledge management and the effectiveness of the border patrol police schools under the border patrol police region 2 revealed a weak positive relationship (r = .258, p< .05).
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร