การพัฒนาชุดกิจกรรมวงจรการเรียนรู้แบบ 7E เน้นกระบวนการคิดเชิงอภิปัญญาร่วมกับเทคนิค STAD และชุดกิจกรรมวงจรการเรียนรู้แบบ 5E ที่มีต่อการคิดแก้ปัญหา จิตวิทยาศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาเคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
Abstract
การพัฒนาชุดกิจกรรมวงจรการเรียนรู้แบบ 7E เน้นกระบวนการคิดเชิงอภิปัญญาร่วมกับเทคนิค STAD และชุดกิจกรรมวงจรการเรียนรู้แบบ 5E ที่มีต่อการคิดแก้ปัญหา จิตวิทยาศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาเคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
DEVELOPMENT OF ACTIVITY PACKAGES BASED ON THE 7E LEARNING CYCLE FOCUSING ON METACOGNITIVE STRATEGY IN CONJUNCTION WITH STAD AND ACTIVITY PACKAGES BASED ON
THE 5E LEARNING CYCLE AFFECTING PROBLEM SOLVING THINKING ABILITIES, SCIENTIFIC ATTITUDES AND LEARNING ACHIEVEMENTS OF CHEMISTRY IN MATHAYOMSUKSA 5
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ พัฒนาชุดกิจกรรมวงจรการเรียนรู้แบบ 7E เน้นกระบวนการคิดเชิงอภิปัญญาร่วมกับเทคนิค STAD และชุดกิจกรรมวงจรการเรียนรู้แบบ 5E วิชาเคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนบ้านม่วงพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 จำนวน 80 คน แยกเป็น 2 กลุ่มทดลอง จำนวนกลุ่มละ 40 คน ใช้ผลการวัดความฉลาดทางอารมณ์ จัดกลุ่มนักเรียนแต่ละกลุ่มทดลอง ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ สูง ปานกลาง และต่ำ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมวงจรการเรียนรู้แบบ 7E เน้นกระบวนการคิดเชิงอภิปัญญาร่วมกับเทคนิค STAD 2) ชุดกิจกรรมวงจรการเรียนรู้แบบ 5E 3) แบบทดสอบวัดการคิดแก้ปัญหา 4) แบบทดสอบสถานการณ์วัดจิตวิทยาศาสตร์ 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 6) แบบวัด
ความฉลาดทางอารมณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index ; E.I.) สถิติทดสอบค่าที (t-test for Dependent Samples, t-test for Independent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One–Way ANOVA) ความแปรปรวนร่วมพหุคูณ (One–Way MANCOVA) ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (One–Way ANCOVA) ความแปรปรวนพหุคูณทางเดียว (One–Way MANOVA) และความแปรปรวนพหุคูณสองทาง (Two–Way MANOVA)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมวงจรการเรียนรู้แบบ 7E เน้นกระบวนการคิดเชิงอภิปัญญาร่วมกับเทคนิค STAD และชุดกิจกรรมวงจรการเรียนรู้แบบ 5E ที่มีต่อการคิดแก้ปัญหา จิตวิทยาศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าโดยรวมเท่ากับ 0.77 และ 0.70 ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้
2. การคิดแก้ปัญหา จิตวิทยาศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยชุดกิจกรรมวงจรการเรียนรู้แบบ 7E เน้นกระบวนการคิดเชิงอภิปัญญาร่วมกับเทคนิค STAD และการสอนด้วยชุดกิจกรรมวงจรการเรียนรู้แบบ 5E หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. หลังเรียนนักเรียน ที่ได้รับการสอนด้วยชุดกิจกรรมวงจรการเรียนรู้แบบ 7E เน้นกระบวนการคิดเชิงอภิปัญญาร่วมกับเทคนิค STAD มีคะแนนเฉลี่ยการคิดแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่า นักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยชุดกิจกรรมตามวงจรการเรียนรู้แบบ 5E อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนคะแนนเฉลี่ยจิตวิทยาศาสตร์ไม่แตกต่างกัน
4. การคิดแก้ปัญหา จิตวิทยาศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูง ปานกลาง และต่ำ ที่ได้รับการสอนด้วยชุดกิจกรรมวงจรการเรียนรู้แบบ 7E เน้นกระบวนการคิดเชิงอภิปัญญาร่วมกับเทคนิค STAD และการสอนด้วยชุดกิจกรรมวงจรการเรียนรู้แบบ 5E มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการสอนและความฉลาดทางอารมณ์ ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนที่ส่งผลต่อการคิดแก้ปัญหา และจิตวิทยาศาสตร์ ไม่มีปฏิสัมพันธ์
ABSTRACT
The purposes of this study were to: develop activity packages based on the 7E Learning Cycle focusing on Metacognitive Strategy in conjunction with STAD and activity packages based on the 5E Learning Cycle of Chemistry. The samples were 80 students in Mathayom Suksa 5 in the first semester, academic year 2014 of Ban Muang Phitthayakhom School under the Office of the Secondary Educational Service Area 23 divided into 2 experimental groups comprising 40 students each. They were grouped by using E.Q. test into 3 levels: high, moderate, and low. The instruments used were: 1) activity packages based on the 7E Learning Cycle based on the Metacognitive Strategy in collaboration with STAD technique, 2) activity packages based on 5E, 3) a test of problem solving, thinking, 4) a test for scientific attitudes, 5) a test for learning achievements, and 6) a test for the emotional quotient. Data were statistically analyzed by using mean, standard deviation, t–test for Dependent Samples, t–test for Independent Samples, One-Way ANOVA, One–Way MANCOVA, One–Way ANCOVA, One–Way MANOVA and Two-Way MANOVA.
The findings of the study were as follows:
1. The overall Index Efficiency of the activity packages affecting the problem solving, thinking abilities, scientific attitudes and learning achievement equaled 0.77 and 0.70 respectively.
2. The problem solving thinking abilities, scientific attitudes and learning achievements of the students taught by the activity packages after being taught was significantly higher than before studying at the level of 0.05.
3. The problem solving thinking abilities and learning achievements of the students after learning with the activity packages at the level of 0.05. In case of the average scores on the scientific attitudes, there were no significant differences.
4. There was a difference in the problem solving thinking abilities, scientific attitudes and learning achievements of the students with high, moderate and low emotional quotients who were taught by the activity packages at the 0.05 level of significance.
5. The interaction between teaching methods and emotional quotients affecting the learning achievements significantly differed at the level of 0.05. There was no interaction in those affecting the problem solving and scientific attitudes.
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร