ผลการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายที่มีต่อการพัฒนาผลการเรียนรู้ 5 ด้านของนักศึกษาวิชาเอกพลศึกษา และวิทยาศาสตร์การกีฬา ชั้นปีที่ 3
Main Article Content
Abstract
ผลการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายที่มีต่อการพัฒนาผลการเรียนรู้ 5 ด้านของนักศึกษาวิชาเอกพลศึกษา และวิทยาศาสตร์การกีฬา ชั้นปีที่ 3
EFFECTS OF EXERCISE PROGRAM ON FIVE LEARNING OUTCOMES OF THE THIRD YEARS STUDENTS IN PHYSICAL EDUCATION AND SPORT SCIENCE PROGRAM
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายที่มีต่อการพัฒนาผลการเรียนรู้
5 ด้าน ของนักศึกษาวิชาเอกพลศึกษาและวิทยาศาสตร์การกีฬา ชั้นปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 10 คน
โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นโปรแกรมการออกกำลังกาย แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายมาตรฐานระหว่างประเทศ (International Committee of the Standardization of Physical Fitness Test = ICSPFT) และแบบประเมินผลการเรียนรู้ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการเรียนรู้ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ก่อนการใช้โปรแกรมการออกกำลังกาย อยู่ในระดับปานกลางและหลังการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายอยู่ในระดับมาก
2. เปรียบเทียบความแตกต่างของผลการเรียนรู้ 5 ด้าน หลังการใช้โปรแกรมออกกำลังกาย สูงกว่าก่อนการใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. เปรียบเทียบผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักศึกษา หลังการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายสูงกว่าก่อนการใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ABSTRACT
The purposes of this study were to examine the effects of five developing learning outcomes through the third years students of physical education and sport science. A sample was selected from 10 students, using purposive sampling. The instrument were International Committee of the Standardization of Physical Fitness Test (ICSPFT) and assessment of five learning outcome, ethics and moral, knowledge, cognitive skills, interpersonal skills and responsibility, numerical analysis, communication and information technology skills. Data were analyzed by mean, standard deviation and t-test with significant at 0.05 level.
The results were found as follows:
1. learning outcomes in ethics and moral, knowledge, cognitive skills, interpersonal skills and responsibility, numerical analysis, communication and information technology skills before using exercise program were at the moderate level and after using exercise program were at the high level.
2. To compare five learning outcomes after using exercise program higher than before using exercise program statistically significance at .05 level.
3. To compare physical fitness test after using exercise program higher than before using exercise program statistically significance at .05 level.
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร