การบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

ดร.ณิรดา เวชญาลักษณ์

Abstract

การบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
CLASSROOM MANAGEMENT FOR SUPPORTING LEARNING IN THE 21ST CENTURY

 

บทคัดย่อ

            บทความเรื่อง“การบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์
ความเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาและวิธีการในการบริหารจัดการชั้นเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21  ซึ่งครูควรปรับบทบาทจากครูผู้สอนมาเป็นโค้ช (Coach) และเป็นผู้อำนวยความสะดวก ให้คำแนะนำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้โดย
การค้นคว้าอย่างอิสระ ในการเรียนรู้แบบ PBL (Problem-Based Learning)  เน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้แนวคิดการเรียนการสอนแบบ Teach Less, Learn More และทฤษฏีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivist Learning) ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ที่เป็นของตนเองขึ้นมาจากความรู้ที่มีอยู่เดิมหรือจากความรู้ที่ได้รับเข้ามาใหม่ จึงควรบูรณาการการเรียนรู้ในลักษณะองค์รวมด้วยรูปแบบหรือวิธีการที่หลากหลาย เน้นการจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ร่วมกัน การเรียนรู้จากธรรมชาติ การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง รวมถึงการประเมินผล
การเรียนรู้จากการปฏิบัติตามสภาพความเป็นจริงอย่างเป็นขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ขั้นวางแผน ครูผู้สอนวิเคราะห์ผู้เรียนและเนื้อหาวิชาที่สอนเพื่อจะเลือกรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม หรือบูรณาการการเรียนรู้โดยใช้สถานที่ภายนอกห้องเรียน  2) ขั้นดำเนินการสอน ครูผู้สอนชี้แจงกระบวนการเรียนรู้ โดยครูเป็นผู้ชี้แจงกติกาการเรียนรู้ร่วมกัน เป็นผู้คอยชี้แนะและควบคุมชั้นเรียน ซึ่งการชี้แจงกฎ กติกา และเป้าหมายปลายทาง 3) ขั้นสรุปบทเรียน ครูผู้สอนตั้งคำถามให้ผู้เรียนสะท้อนบทเรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้นำเสนอสิ่งที่ได้ค้นคว้าตามที่ได้เรียนรู้จากสภาพความเป็นจริง 4) ขั้นประเมินผล ครูผู้สอนทำการทดสอบหลังเรียนพร้อมทั้งแจ้งผลการทดสอบให้ทุกคนทราบ

            การบริหารจัดการชั้นเรียนที่มีประสิทธิภาพ ควรเอื้อต่อหลักสูตรและเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ดังนั้น จึงไม่จำกัดเฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น แต่ยังมีแหล่งการเรียนรู้ภายนอกห้องเรียน การจัดสื่อการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและกระบวนการเรียนรู้ส่งผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่อตัวผู้เรียนให้เกิดทักษะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ต่อไป

Article Details

Section
บทความวิจัย