การดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

วิเลขา ปรีชา

Abstract

บทคัดย่อ


 


หัวข้อวิทยานิพนธ์                       การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดนครศรีธรรมราช


ผู้วิจัย                                               นางสาววิเลขา ปรีชา


สาขาวิชา                                         การบริหารการศึกษา


ประธานกรรมการที่ปรึกษา         ผศ.ดร.สมพร เรือง่ออน



กรรมการที่ปรึกษา                         นายกรีฑา วีระพงศ์



 


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้ง 6 งาน จำแนกตาม ระดับการศึกษา ตำแหน่ง และประสบการณ์ในการทำงาน ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้อำนวยกองการศึกษา นักวิชาการศึกษา หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และครูผู้ดูแลเด็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดนครศรีธรรมราช ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารบริหารส่วนตำบลท่าศาลาจำนวน 57 คน และองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ จำนวน 8 คน รวมประชากรทั้งสิ้นจำนวน 65 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า


  1. การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมอยู่ในระดับมาก (m = 4.47) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านงานอาคาร สถานที่ สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย(m = 4.53)  และด้านงานส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัย มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด  รองลงมา คือ ด้านงานวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร และด้านงานการมีส่วนร่วมและสนับสนุนจากทุกภาคส่วน (m = 4.48)  ด้านบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (m = 4.41) และด้านบุคลากร  มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (m = 4.38) ตามลำดับ

  2. การสัมภาษณ์การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดนครศรีธรรมราช มีดังนี้

                      2.1  ด้านบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การจัดประสบการณ์เรียนรู้และส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน


                      2.2  งานบุคลากร ผู้บริหารส่งเสริมสนับสนุนในการสรรหาบุคลากรร่วมกันเพื่อการดำเนินงานที่ชัดเจนในการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีคุณภาพและสร้างขวัญกำลังใจในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด


                      2.3  งานอาคาร สถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย อาคารสถานที่อยู่ในแหล่งเหมาะสมและปลอดภัย


                      2.4  งานวิชาการ และกิจกรรมตามหลักสูตร เป็นการอบรมเลี้ยงดูและการบูรนาการหลักสูตรร่วมกันในการจัดประสบการณ์                                                                                             


                      2.5 งานการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน สนับสนุนให้ทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน


    2.6 งานส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัย  การปฎิบัติงานระหว่างหัวหน้าศูนย์ ครูผู้ช่วยและเครือข่ายศูนย์พัฒนาเด็กมีการประชุมและแลกเปลี่ยนทัศนะคติในการทำงานให้เกิดประสิทธิผล


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


                                                                


                                                         ABSTRACT


 


The Title                              The Operration of Child Development Centers Under the


                                    Jurisdiction of the Subdistrict Adminstrative Organization in  


                                    Nakhon Si Thammarat


The Author                                          MissVilayka Preecha


Program                                Educational Administration


Thesis Chairman                                Assist.prof.Dr.Somporn Ruang-on


Theiss Advisor                    Mr.Kreeta Veerapong


 



 



The purposes of this study were  to examine the operations of Child Development centers under the jurisdiction of Subdistrict Administratibr Organizations (SAO) in Na Khon Srithammarat,.  The population, identified by using a purposive sampling technique, consisted of 65 people including SAO chief  executives,  deputy chief  excutives, SAO chief administrators, directors of the division of education, education/ technical officers , heads of child care development centers, and teachers. Of which, 57 were from Thasala Subdistirt Administrative Organization, and 8 from Thasala Subdistrict Administrative Organization. The respondents were asked to respond to a set of questionnaires, and the data were analyzed using percentage, mean, standard deviation.


The findings revealed that


                      1.The overall perception of the operations of child care and development centers under the subdistrict administrative organizations in Nakhon Si Thammarat were found to exist at a high level (m = 4.47). When each area was considered, it was found that Buildings and Grounds, Environment, and Safty, (m = 4.53)together with Early Childhood Networking Promotion were found to exist at the highest level  followed by Technical/Academic Affairs and Extracurricular Activities, and Participation and Support from All Sectors (m = 4.48), Management of Child Care/Development Centers (m = 4.41), and Personnel  (m = 4.38),


                      2.Interview results of the implementation of the Child Development Center, under the Tambon Administrative Authories in Nakhon Si Thammarat are as follows.


                      2.1 Regarding the Management of Child Development Centers, four areas of learning experience and development were provided.


                      2.2 In the area of Personnel Support, the administrators worked together in recruiting personnel, set clear directions for effective running the child development centers, and to provide effective measures to boost the morale of the personnel.


                      2.3 Building and ground and environmental safety. The establishments are located in suitable and safe location.


                      2.4Academic and curricular/learning activities. Academic and childrearing/developing activities are fully integrated.


                      2.5 Regarding community support and participation, the centers work closely with and are supported by the local communities.


                    2.6 Regarding promotion of networking for early childhood development, heads of the centers, teachers, and Child Development Center Network meet regularly to exchange ideas and experience for effective running of the child centers.


                      

Article Details

Section
บทความวิจัย