การวิจัยเพื่อพัฒนาชุดสร้างความรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อ ความรับผิดชอบ ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นปีที่ 6
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดสร้างความรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของดัชนีประสิทธิผล 2) เปรียบเทียบความรับผิดชอบ ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบความรับผิดชอบ ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่างกัน เมื่อได้รับการสอนด้วยชุดสร้างความรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนอนุบาลโคกศรีสุพรรณ ศูนย์อำนวยการเครือข่ายตองโขบเหล่าโพนค้อสามัคคี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ซึ่งเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวนนักเรียน 30 คน ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ สูง ปานกลาง และต่ำ โดยใช้เทคนิคร้อยละ 33 ในการแบ่งนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อเป็นตัวแปรจัดประเภท เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดสร้างความรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 10 ชุด 2) แบบทดสอบวัดความรับผิดชอบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 ข้อ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 60 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติทดสอบที (t-test แบบ Dependent Sample) การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณแบบทางเดียว (One – way MANCOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบทางเดียว (One - way ANCOVA)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดสร้างความรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงส่งผลต่อความรับผิดชอบ ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานดัชนีประสิทธิผล ที่ร้อยละ 52.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 2) ความรับผิดชอบ ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วยชุดสร้างความรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์แตกต่างกันเมื่อได้เรียนด้วยชุดสร้างความรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความรับผิดชอบ ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร