การวิจัยและพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเป็นฐาน สำหรับสถานศึกษาในชุมชน รอบหนองหาร จังหวัดสกลนคร

Main Article Content

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประยูร บุญใช้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียนและชุมชนรอบหนองหาร จังหวัดสกลนคร
ในประเด็นที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อจัดทำ
เป็นแหล่งเรียนรู้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ 2) พัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเป็นฐาน สำหรับสถานศึกษาในชุมชนรอบหนองหาร 3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเป็นฐานที่พัฒนาขึ้น การวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นแรกเป็นการพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเป็นฐาน ขั้นที่สองเป็นการทดลองใช้รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินคุณภาพของรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการที่พัฒนาขึ้นเป็นครูผู้สอนของโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในชุมชนรอบหนองหาร จังหวัดสกลนคร จำนวน 4 โรงเรียน ได้แก่ 1) โรงเรียนบ้านแป้นสามัคคีราษฎร์บำรุง 2) โรงเรียนท่าศาลาราษฎร์วิทยา

3) โรงเรียนโพนงามโคกวิทยาคาร และ 4) โรงเรียนบ้านน้ำพุคุรุราษฎร์สงเคราะห์ ซึ่งเป็นครูผู้สอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ที่สมัครใจเข้าร่วมการพัฒนา จำนวน 12 คน

            ผลการวิจัยพบว่า

                 1. รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเป็นฐานประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตร 2) วิเคราะห์แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น 3) กำหนดรูปแบบวิธีการบูรณาการ 4) ออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเป็นฐาน 5) ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ 6) ดำเนินการจัดการเรียนรู้ และ 7) ประเมินผลการเรียนรู้

                 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเป็นฐาน พบว่า

                      2.1 ครูผู้เข้ารับการอบรมตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นจำนวน 12 คนมีความรู้ความเข้าใจในการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเป็นฐาน ผ่านเกณฑ์การประเมิน ร้อยละ 80 ครบทุกคน

                      2.2 ครูผู้เข้ารับการฝึกอบรมตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น จำนวน 12 คน สามารถสร้างหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเป็นฐาน มีคุณภาพระดับดีมาก จำนวน 2 คน และระดับดี จำนวน 10 คน

                      2.3 การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนตามหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ ที่ครูซึ่งได้รับการฝึกอบรมพัฒนาขึ้น จำนวน 12 หน่วยการเรียนรู้ พบว่านักเรียนร้อยละ 97.05 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 84.38 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ นักเรียนร้อยละ 80 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 75 ขึ้นไป

Article Details

Section
บทความวิจัย