การศึกษาความรู้ความเข้าใจของประชาชนต่อสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง ภาวะโลกร้อน

Main Article Content

ปรัชญกุล ตุลาชม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจและเจตคติด้านภาวะโลกร้อนของประชาชน  ก่อนและหลังการศึกษาสื่อมัลติมีเดียเรื่อง ภาวะโลกร้อน และเพื่อศึกษาผลความคงทนของความรู้ความเข้าใจ  และเจตคติของประชาชนหลังการศึกษาสื่อมัลติมีเดียเรื่อง ภาวะโลกร้อน ผ่านไป 4 สัปดาห์ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว จึงกำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยออกเป็น 2 ตอน ขั้นตอนที่ 1 เป็นการการสร้างสื่อมัลติมีเดีย  เรื่อง ภาวะโลกร้อน ขั้นตอนที่ 2 เป็นขั้นการสร้างแบบสอบถามเพื่อวัดความรู้ความเข้าใจด้านภาวะโลกร้อนและแบบวัดเจตคติต่อภาวะโลกร้อน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นประชาชนที่มีภูมิลำเนาและอาศัยอยู่ในเขตอำเภอ วังน้ำเย็น อำเภอคลองหาด และอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว จำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 101,725 คน กลุ่มตัวอย่าง เป็นประชาชนที่มีอายุระหว่าง 15 - 60 ปี ที่มีภูมิลำเนาและอาศัยอยู่ในเขตอำเภอวังน้ำเย็น อำเภอคลองหาด และอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ผู้วิจัยได้ทำการเลือกด้วยวิธีการจับฉลาก จำนวน 400 คน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) สถิติทดสอบเอฟ (F-test) และเกณฑ์การวัดผลและการประเมินผลการศึกษา ใช้วิธีการวัดผลและการประเมินผลการเรียนรู้ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551

ผลการวิจัยพบว่า

     1) สื่อมัลติมีเดียเรื่องภาวะโลกร้อนมีคุณภาพในระดับมากที่สุด (4.61)

     2) ความรู้ความเข้าใจของประชาชนหลังการศึกษา สื่อมัลติมีเดียเรื่องภาวะโลกร้อน แตกต่างกัน ก่อนการศึกษาสื่อมัลติมีเดียเรื่อง ภาวะโลกร้อน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

     3) เจตคติของประชาชนหลังการศึกษาสื่อมัลติมีเดียเรื่องภาวะโลกร้อน แตกต่างกัน ก่อนการศึกษา สื่อมัลติมีเดียเรื่องภาวะโลกร้อน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05

Article Details

Section
บทความวิจัย