ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง กิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง ที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

Main Article Content

สุปัญญดา สุนทรนนธ์

Abstract

            การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก คือ 1)เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง(ประกอบด้วย 4 ตัวแปรย่อย)  กิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (ประกอบด้วย 5 ตัวแปรย่อย) และความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง(ประกอบด้วย 5 ตัวแปรย่อย)  ที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และ 2) เพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบย่อยต่างๆ ในปัจจัยหลักทั้ง 3 ด้าน ที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ  สำหรับประชากรในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรประจำของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในไทยจำนวน 12 แห่ง โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบโควตาจำนวน 400 ตัวอย่าง จากบุคลากรที่ทำงานแบบเต็มเวลาของมหาวิทยาลัย สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพรรณนา การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์พหุถดถอย และการวิเคราะห์เส้นทาง

            จากการวิจัย พบว่า 1) ตัวแปรอิสระย่อยเกือบทุกตัวใน 3 ปัจจัยหลัก ยกเว้น กิจกรรมการศึกษา มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  โดยการคำนึงถึงปัจเจกบุคคลซึ่งเป็นองค์ประกอบย่อยของปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากรมากที่สุด  และ 2) ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีทั้งอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมเชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากรผ่านทางปัจจัยความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง   โดยปัจจัยหลักทั้ง 3 ด้าน ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรอิสระ 14 ตัวแปรย่อย สามารถอธิบายความผันแปรของผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ  ได้ร้อยละ 72.9 (R2 =0.729) จึงกล่าวได้ว่าปัจจัยหลักทั้ง 3 ปัจจัยที่ศึกษา มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในระดับสูง

Article Details

Section
บทความวิจัย