การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชน ระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3

Main Article Content

เสาวลักษณ์ - พรหมณะ

Abstract

บทคัดย่อ


 


หัวข้อวิทยานิพนธ์                    การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชน ระดับประถมศึกษา                                                                สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช  เขต 3


ผู้วิจัย                                           นางสาวเสาวลักษณ์  พรหมณะ


สาขาวิชา                                    การบริหารการศึกษา


ประธานกรรมการที่ปรึกษา  ดร.รอยพิมพ์ใจ  เพชรกุล



กรรมการที่ปรึกษา                    นายกรีฑา  วีระพงศ์


 



               


                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  1)  เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 และ 2)  เพื่อเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 จำแนกตามประสบการณ์ในการฝึกอบรมเกี่ยวกับงานวิชาการ และขนาดของโรงเรียน


                การดำเนินการวิจัยใช้วิธีสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 195 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างได้ดำเนินการทดสอบเป็นรายคู่


ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Method)


 


                ผลการวิจัยพบว่า


                1.  สภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 โดยภาพรวมและรายด้าน          อยู่ในระดับมาก


                2. เปรียบเทียบสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 จำแนกตามประสบการณ์ในการฝึกอบรมเกี่ยวกับงานวิชาการ และขนาดของโรงเรียน โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

Section
บทความวิจัย