การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะชีวิตที่เกี่ยวกับเพศศึกษารายวิชาสุขศึกษาโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม บูรณาการกับทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา และวิธีการคิดแบบโยนิโสมนสิการเพื่อพัฒนาเจตคติผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะชีวิตสำหรับนักเรียน
Main Article Content
Abstract
การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะชีวิตที่เกี่ยวกับเพศศึกษารายวิชาสุขศึกษา โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม บูรณาการกับทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา และวิธีการคิดแบบโยนิโสมนสิการ เพื่อพัฒนาเจตคติ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะชีวิตที่เกี่ยวกับเพศศึกษา รายวิชาสุขศึกษา โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม บูรณาการกับทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา และวิธีการคิดแบบโยนิโสมนสิการ เพื่อพัฒนาเจตคติ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อศึกษาผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ทักษะชีวิต กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสุวรรณคีรี จำนวน 30 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดเจตคติ ทางเพศศึกษา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา แบบทดสอบวัดทักษะชีวิตที่เกี่ยวกับเพศศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ดัชนีประสิทธิผล, ค่าสัมประสิทธิ์ความผันแปร ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ t-test (Dependent Samples), ANOVA, ANCOVA, MANCOVA
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. แผนการจัดการเรียนรู้ทักษะชีวิตมีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.66 มีค่าสัมประสิทธิ์ความผันแปรเท่ากับ 0.07
2. นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะชีวิต มีเจตคติ เกี่ยวกับเรื่อง เพศศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะชีวิต มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะชีวิต มีทักษะชีวิต เกี่ยวกับเรื่อง เพศศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. ระดับคะแนน เจตคติ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะชีวิต ของนักเรียนที่มีทักษะการคิดวิเคราะห์ต่างกัน (สูง ปานกลาง และต่ำ) เมื่อได้รับการสอนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ABSTRACT
The purposes of this research were to 1) develop life skills lesson plans on sex education in Health Education using cooperative learning integrated with social cognitive learning theory and Yonisomanasikan for developing attitudes, learning achievements and life skills for Mathayom Suksa 2 students, and, 2) investigate the effects of using the life skills lesson plans. The research procedures comprised of 2 steps. The subjects were 30 students in Mathayom Suksa 2 at Bansuwankhiri School. The data were analyzed by using quantitative and qualitative approaches. The research instruments were composed of lesson plans, a test of attitudes on sex education, a test of learning achievement on Health Education. The data were analyzed by using mean, standard deviation, Effectiveness Index, Coefficient of Variance, t-test (Dependent Samples), ANOVA, ANCOVA and MANCOVA.
The research findings were as follows:
1. The life skills lesson plans obtained Effectiveness Index of 0.66 and Coefficient of Variance of 0.07.
2. The students taught by the life skills lesson plans gained attitudes on sex education after learning higher than prior to being taught at the .05 level of significance.
3. The students taught by the life skills lesson plans gained learning achievements after learning higher than prior to being taught at the .05 level of significance.
4. The students taught by the life skills lesson plans gained life skills on sex education after learning higher than prior to being taught at the .05 level of significance.
5. The levels of scores, attitudes, learning achievements and life skills of the students with different analytical skills (high, moderate and low) taught by the lesson plans developed were statistically different at the .05 level.
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร