การพัฒนาคู่มือการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิกร่วมกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์ ความรับผิดชอบ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

แจ่มจันทร์ พลศรีดา

Abstract

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาคู่มือการเรียนรู้ ตามเกณฑ์เชี่ยวชาญและเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80 / 80   2) เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์  ความรับผิดชอบ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการเรียนรู้  ตามคู่มือการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิกร่วมกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน  3) เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์  ความรับผิดชอบและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีความฉลาดทางอารมณ์ที่ต่างกัน (สูง ปานกลาง และต่ำ) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านขาม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 22  คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ประกอบด้วย 1) คู่มือการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิกร่วมกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ (EQ)  3) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ 4) แบบทดสอบวัดความรับผิดชอบ 5) แบบประเมินผลการสังเกตพฤติกรรมความรับผิดชอบ 6) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย  ร้อยละ  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t – test  Dependent Samples) วิเคราะห์ความแปรปรวนพหุร่วมแบบทางเดียว (One – way  MANCOVA) และวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบทางเดียว (One – way  ANCOVA)    

            ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

                 1. คู่มือการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิกร่วมกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญเท่ากับ 4.85  อยู่ในระดับมากที่สุด และค่าประสิทธิภาพของคู่มือเท่ากับ 88.79 / 81.21 

                      2. การคิดวิเคราะห์  ความรับผิดชอบ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนด้วยการใช้คู่มือการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิกร่วมกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05

                 3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีความฉลาดทางอารมณ์ต่างกัน คือ สูง ปานกลาง และต่ำ การคิดวิเคราะห์ ความรับผิดชอบ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  หลังเรียนด้วยการใช้คู่มือการเรียนรู้โดยใช้กราฟิก ร่วมกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกัน

                      3.1  นักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูง มีการคิดวิเคราะห์สูงกว่านักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์
ปานกลาง และสูงกว่านักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ต่ำ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05    

                      3.2  นักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูง มีความรับผิดชอบสูงกว่านักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์
ปานกลางและสูงกว่านักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ต่ำ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                      3.3 นักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ปานกลาง และสูงกว่านักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ต่ำ   อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

ABSTRACT

            The student aimed 1) to develop learning handbook by using Graphic Organizer and Sufficiency Economy Philosophy which will effect Prathom Suksa 3 students’ analytical thinking, responsibility and learning achievement of Thai Substance Group to meet the standard criteria of 80/80, 2) to compare Prathom Suksa 3 students’ analytical thinking, responsibility and learning achievement to Thai Substance Group which were obtained before and after they had learnt through the developed handbook, and 3) to compare the analytical thinking, Responsibility and learning achievement of Prathom Suksa 3 students whose degrees of emotional intelligences differed (high, moderate, and low). Purposively selected, the subjects were 22 Prathom Suksa 3 students who were studying at ban kham School in the second semester of 2012 academic year. The tools used were composed of 1) the handbook constructed by using Graphic Organizer and the principles of Sufficiency   Economy Philosophy, 2) the form to measure the students’ emotional intelligence, 3) a test to evaluate the students’ analytical thinking, 4) a test to assess the students’ responsibility, 5) the form to observe and record the students’ responsible behaviors, 6) a test to appraise the students’ achievement to learning Thai. The statistics used for analyzing the data included mean, percentage, standard deviation, t-test (Dependent Samples), One-way MANCOVA  and One-way  ANCOVA

            The finding were as follows:

                 1. The handbook developed by using Graphic Organizer and Sufficiency Economy Philosophy had its expertise quality of 4.85, or at the highest level. Its efficiency was at 88.79/81.21.

                 2. After Prathom Suksa 3 students had learnt by using the developed handbook constructed by using Graphic Organizer and Sufficiency Economy. their Analytical thinking, responsibility and learning achievement were statistically higher than before at .05 level of significance.

                 3. After they had learnt through the developed handbook constructed by using Graphic Organizer and Sufficiency Economy, three groups of student whose emotional intelligences differed (high, moderate and low) possessed different analytical thinking, responsibility and learning achievement.

                           3.1 The students whose emotional intelligence was high significantly possessed higher analytical thinking than those who had moderate emotional intelligence and those who had low emotional intelligence at .05 statistical level.

                      3.2 The students whose emotional intelligence was high significantly possessed higher responsibility than those who had moderate emotional Intelligence than those who had low emotional intelligence at .05 statistical level.

                      3.3 The students whose emotional intelligence was high significantly possessed higher learning achievement than those who had moderate emotional Intelligence and  those who had low emotional intelligence at .05 statistical level.

Article Details

Section
บทความวิจัย