ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความรู้และความตระหนักในการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำหนองหญ้า บ้านกล้วย เมืองปากซัน แขวงบลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการใช้พื้นที่ชุ่มน้ำหนองหญ้า บ้านกล้วย เมืองปากซัน แขวงบลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) สร้างยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความรู้และความตระหนักในการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำหนองหญ้า 3) ศึกษาผลการทดลองใช้ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความรู้และความตระหนักในการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำหนองหญ้า กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในขั้นศึกษาสภาพปัญหาการใช้พื้นที่ชุ่มน้ำหนองหญ้า ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน หัวหน้าหน่วย และตัวแทนหัวหน้าครอบครัว รวม 10 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างในขั้นทดลองใช้ยุทธศาสตร์ ได้แก่ หัวหน้าครอบครัว จำนวน 25 ครอบครัว รวม 25 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบทดสอบความรู้ในการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำหนองหญ้า 2) แบบวัดความตระหนักในการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำหนองหญ้า 3) โครงการอบรมเสริมสร้างความรู้และความตระหนักในการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำหนองหญ้า 4) ใบกิจกรรมและใบความรู้ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเข้ารับการอบรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบสองกลุ่มไม่อิสระกัน
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัญหาในการใช้พื้นที่ชุ่มน้ำหนองหญ้าของประชาชนบ้านกล้วย ได้แก่ 1) มีการถมพื้นที่ชุ่มน้ำปรับไถเพื่อทำการเกษตร 2) มีการถมพื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อสร้างอาคารบ้านเรือน 3) มีการบุกรุกป่าต้นน้ำ ทำให้พื้นที่ชุ่มน้ำลดความอุดมสมบูรณ์ อาทิ ผลผลิตปลาลดน้อยลง สูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ นกและสัตว์หลายชนิดหายไป คุณสมบัติทางเคมีของดินเปลี่ยนแปลง และยังมีผลต่อสมดุลของชั้นน้ำใต้ดิน นอกจากนั้น เกิดการแพร่ระบาดของวัชพืช 4) มีการลักลอบล่าสัตว์ ยิงนก เก็บไข่นก จับเต่า 5) ใช้วิธีการจับสัตว์น้ำที่รุนแรงไม่เหมาะสม ทำให้สัตว์น้ำลดลง และ 6) มีการจับปลาและล่าสัตว์ในระดูวางไข่ ทำให้สัตว์น้ำและสัตว์ป่าลดลง ซึ่งสาเหตุของปัญหาดังกล่าวเกิดจากประชาชนขาดความรู้และความตระหนักในการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำหนองหญ้า
2. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความรู้และความตระหนักในการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำหนองหญ้า ใช้กระบวนการอบรมแบบมีส่วนร่วมด้วยเทคนิค AIC
3. หลังการทดลองใช้ยุทธศาสตร์ ประชาชนมีความรู้และความตระหนักในการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำหนองหญ้า สูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผ่านเกณฑ์ที่กำหนด โดยมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ อยู่ในระดับมากที่สุด
Abstract
The purposes of this study were: 1) to investigate the problem state of using the wet grassland, Kluay village, Paksan district, Bolikhamxai province, Lao People’s Democratic Republic, 2) to create a strategy to enhance knowledge and awareness of conserving the wet grassland, 3) to examine the result of strategy implementation to enhance knowledge and awareness of conserving the wet grassland. The group of informants in the stage of investigating the problem state of using the wet grassland was village headmen, unit heads, and representatives of heads of the households totaling 10 people. Data collecting was done through interviews. The sample in the stage of implementing the strategy was heads of the 25 households totaling 25 people. The instruments for collecting data were: 1) a test of knowledge about conserving the wet grassland, 2) a form for measuring awareness of conserving the wet grassland, 3) a project on training for enhancing knowledge and awareness of conserving the wet grassland, 4) activity and knowledge sheets, 5) a questionnaire asking satisfaction of getting trained. Statistics used to analyze data were mean, percentage, standard deviation and t-test of dependent samples.
The findings of study disclosed as follows:
- 1. The problem states in using the wet grassland by people in Kluay village were: 1) The wet grassland was filled, leveled and plowed for agriculture: 2) the wet grassland was filled for construction of buildings and houses; 3) the water source forest was invaded which caused the decrease of richness of the wet grassland, e.g. the decrease of fish produce, the loss of biodiversity, the disappearance of birds and several kinds of animals, the change in chemical properties of soil, and the decreased balance of the layers of underground water. In addition, the weeds spread widely; 4) animals were hunt, birds shot, birds’ eggs collected and tortoises caught clandestinely; 5) using inappropriate and severe methods of catching aquatic animals which caused a decrease of them; and 6) fish and animals were hunt in the egg-laying season, which made the aquatic and wild animals decreased. The causes of the problems as mentioned above arose from lack of knowledge and awareness of conserving the wet grassland.
2. The strategy to enhance knowledge and awareness of conserving the wet grassland employed the participatory training process by the AIC technique.
3. After implementation of the strategy, people had significantly higher knowledge and awareness of conserving the wet grassland than those before the implementation of it at the .01 level and passed the determined criterion with the highest level of people’s satisfaction of participation in various activities.
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร