วาทกรรม ความขาว : อัตลักษณ์ความงามของผู้หญิงลาว ในวัฒนธรรมสมัยนิยม
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องวาทกรรมความขาว : อัตลักษณ์ความงามของผู้หญิงลาวในวัฒนธรรมสมัยนิยม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาจากค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารและการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และใช้วิธีการวิเคราะห์วาทกรรมเป็นเครื่องมือหลักในการศึกษา โดยศึกษากลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่ในนครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์กระบวนการสร้างวาทกรรมความขาวที่ผูกโยงกับการใช้อำนาจและความรู้ เพื่อช่วยให้มองเห็นการร่วมกันของอำนาจที่ประกอบสร้างความหมายหมายของวาทกรรมความขาวให้ดำรงอยู่จนกลายเป็นความจริงในสังคม ตลอดถึงทัศนคติและปฏิกิริยาของผู้หญิงลาวเกี่ยวกับความงามที่กำลังปรับเปลี่ยนอุดมคติไปสู่ความขาวตามวัฒนธรรมสมัยนิยม
ผลการวิจัยพบว่า วาทกรรมเรื่องความขาวเป็นอุดมคติในรูปแบบความงามอย่างหนึ่งของผู้หญิงลาวที่ได้รับการยอมรับและถูกผลิตซ้ำมาตั้งแต่อดีต ซึ่งในอดีตได้ส่งผ่านความรู้เรื่องความขาวผ่านแนวคิดทางสัญญะโดยการใช้ภาษาในบทกวี นิยาย วรรณคดีที่มีสำนวนกล่าวถึงความงามของผู้หญิงลาว เพื่อให้ผู้หญิงได้รับรู้และมีจิตสำนึกร่วมกัน ในการสร้างความหมายและตีความ เมื่อประเทศลาวได้พัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัยยุคโลกาภิวัตน์ ได้ส่งผลให้ความขาวถูกสร้างและผลิตความหมายอยู่ตลอดเวลา โดยการกระทำผ่านช่องทางสื่ออันหลากหลาย จนกลายเป็นภาพตัวแทนที่ชัดเจนของผู้หญิงลาว โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ซึ่งถือว่าเป็นตัวแปรสำคัญที่สร้างการรับรู้และค่านิยมต่อองค์ความรู้เรื่องความขาวของผู้หญิงในสังคมลาวปัจจุบัน ถึงแม้ว่าผู้หญิงลาวในปัจจุบันจะให้ความสำคัญกับความขาวมากขึ้น แต่ก็ยังมีความคิดเห็นที่แสดงออกถึงความห่วงใยและหวงแหนในวัฒนธรรมความงามในชาติของตนเองที่บรรพบุรุษได้สรรสร้างขึ้น โดยยังคงยึดถือปฏิบัติด้วยความเชื่อถือว่าเป็นคุณธรรมและความงามของผู้หญิงลาวที่ต้องแสดงออกให้เห็นถึงคุณค่าที่อยู่ภายในจิตใจนอกเหนือจากความงามทางรูปลักษณ์ภายนอก
ABSTRACT
The present dissertation analyses the discourse of ‘white-ness’ as it emerges in contemporary popular women’s culture as represented by a group of women in Vientiane. As regards data collection, the dissertation is a documentary study conducted on the basis of deep field interviews with a small mixed sub-group representative of urban and rural women in Vientiane. The theoretical framework adopted is that of discourse theory. The research focus is on the process of building the aesthetic and socio-anthropological construct of ‘white-ness’. This construct is related to the use of power, knowledge and truth. These appear indeed to be the three key areas involved in the representation of ‘white-ness’ – the interplay of power, knowledge and truth is instrumental as an agent of meaning that gives white-ness its positioning in society. That is, power builds the social meaning of white-ness. The changing attitude and responses to beauty displayed by the group of women under study shows a polarisation towards the notion and ideology of ‘white-ness’ as these are represented in popular culture, and in turn it feeds back onto an ongoing reference to traditional notions.
The discourse of ‘white-ness’ is already present in traditional Lao women’s culture, which provides a knowledge basis or repository of meaning and contents that are expressed in literature, poetry, story-telling and romantic sagas. Traditional literary clichés provide the symbols and points of references whereby women build the meaning and elaborate a shared notion of beauty in Vientiane. With Vientiane developing as a modern country in the globalised era, ‘white-ness’ has continued to be a productive notion of self-representation and further reproduces itself through the medias. The ideal as it has been negotiated through the medias’ projection has become the inherited notion of women’s beauty in Vientiane. Television in particular has been the determining factor in leading to the acceptance of this notion of ‘white-ness’ as beauty as an established social value. Although the group analysed is strongly influenced by the beauty norm popularised as it has been described, it continues to look at the traditional discourse as an implicit point of ideological reference and legitimation. Further, they express an awareness of the need to protect and embody the traditional ideal as it has been culturally inherited. This awareness and preoccupation has a dimension of social morality and ethics in that it is concerned with the preservation of and adherence to the traditional canon of beauty in society. There is continuity with the traditional belief system centered on the idea that the source of beauty is within and that external beauty embodies inner beauty and purity.
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร