การพัฒนาสื่อรณรงค์การประหยัดพลังงานไฟฟ้าโดยใช้เทคนิคสตอปโมชันแบบพิกซิลเลชัน

Main Article Content

ธวัชชัย สมใจ

Abstract

บทคัดย่อ
     การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อพัฒนาสื่อรณรงค์การประหยัดพลังงานไฟฟ้าโดยใช้เทคนิคสตอปโมชันแบบพิกซิลเลชันให้มีคุณภาพ 2) ศึกษาการรับรู้ของนักศึกษาหลังการชมสื่อรณรงค์ที่พัฒนาขึ้น 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสื่อรณรงค์ที่พัฒนาขึ้น 4) ศึกษาความพึงพอใจผู้เข้าชมสื่อรณรงค์ที่พัฒนาขึ้น ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้แก่นักศึกษาในระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 ที่ลงเรียนรายวิชาการใช้สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ปีการศึกษา 3/2556 จำนวน 40 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ 1) สื่อรณรงค์การประหยัดพลังงานไฟฟ้าโดยใช้เทคนิคสตอปโมชันแบบพิกซิลเลชัน 2) แบบประเมินคุณภาพสื่อรณรงค์ 3) แบบประเมินการรับรู้ที่หลังจากการชมสื่อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ 5) การเผยแพร่สื่อรณรงค์ผ่านสื่อออนไลน์และสื่อสังคมออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า การประเมินคุณภาพของสื่อรณรงค์การประหยัดพลังงานไฟฟ้าโดยใช้เทคนิคสตอปโมชันแบบพิกซิลเลชันโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี การวัดการรับรู้ของนักศึกษาที่มีต่อสื่อโดยรวมอยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสื่อโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจผู้เข้าชมสื่อรณรงค์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ จำนวน 126 คน กดปุ่มชอบ จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 34.92 กดปุ่มไม่ชอบ จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.79 โดย
     สรุป สื่อรณรงค์การประหยัดพลังงานไฟฟ้าโดยใช้เทคนิคสตอปโมชันแบบพิกซิลเลชันที่ผู้ศึกษาได้พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมกับนักศึกษา และมีประโยชน์อย่างยิ่งในด้านการรณรงค์ ทำให้ผู้ชมสามารถจดจำเนื้อหาไปพร้อมกับความสนุกสนานเพลิดเพลิน ดังนั้นการผลิตสื่อรณรงค์โดยใช้เทคนิคสตอปโมชันแบบพิกซิลเลชันจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมอย่างยิ่งในพัฒนาสื่อรณรงค์ประเภทต่างๆ ต่อไป

Abstract

            This study aimed 1) to develop the effective stop motion with pixilation to promote the electricity saving campaign; 2) to investigate the participant’s perception after watching the campaign developed by the researcher: 3) to examine the participant’s satisfaction on the campaign; and 4) to examine the regular audience’s satisfaction after watching the campaign on the social network. The sample group in this study was 40 undergraduate participants attending a class of Information for Learning subject in Semester 3/2013, at Faculty of Humanities and Social Science, Mahasarakham Rajabhat University. These participants were selected by a purposive sampling method. The research tools used in this study were: 1) the stop motion with pixilation for the electricity saving campaign developed by the researcher; 2) an evaluation form on the stop motion’s quality; 3) an evaluation form on the participant’s perception after watching the campaign; 4) the questionnaire form on the participant’s satisfaction toward the campaign; and 5) the online community and media used for the campaign promotion. The data analysis was performed using different statistical techniques and resulted as percentage, means, and standard deviation.

            The study’s outcome indicated that the stop motion developed by the researcher was totally affirmed by the experts to be a quality media. The participant’s perception was totally rated at a high level and their satisfaction toward the campaign was high. Significantly, from a total of 126 people, after watching the campaign on the online community or media, 34.92% of the regular audiences liked the campaign and another 0.79% of them did not like it.

            As a result, the stop motion for the electricity saving campaign that has been developed by the researcher can be effectively implemented to promote the audience’s better perception and satisfaction toward the campaign.  

Article Details

Section
บทความวิจัย