ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 14 อุดรธานี
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 14 อุดรธานี และศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 14 อุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 14 อุดรธานี จำนวน 96 คน ที่ได้จากการกำหนดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิและวิธีสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way ANOVA) และเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธี LSD (Least Significant Difference)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 14 อุดรธานี โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านความก้าวหน้าในงาน ด้านสัมพันธภาพ ด้านการสนับสนุนทางการบริหาร และด้านความต้องการพื้นฐาน ตามลำดับ
2. ผลการเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรศูนย์ป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยเขต 14 อุดรธานี จำแนกตาม ระดับตำแหน่ง และหน่วยงานที่สังกัด พบว่า บุคลากรที่มีระดับตำแหน่ง และหน่วยงานที่สังกัด แตกต่างกัน
มีความผูกพันต่อศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 14 อุดรธานี ไม่แตกต่างกัน
ABSTRACT
This research aimed to study and to compare the personnel’ s engagement of the Prevention and Mitigation Center, 14th Region, Udon Thani, including the useful suggestions how to develop the personnel’ s engagement. The sample was 96 personnel working at the Prevention and Mitigation Center, 14th Region, Udon Thani; They’ re selected by Taro Yamane sampling sized and the simple random sampling. The instrument was the Questionnaire as all with .96 of reliability. Statistics were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and One Way ANOVA
(F-test).
The research results were found as follows;
1. The personnel’s engagement of the Prevention and Mitigation Center, 14th Region, Udon Thani as overall were at high level, sorting arithmetic mean from highest to lowest; the Working progressive, the Relationship, the Administrative support and the Basic needs respectively.
2. The comparison results of personnel’s engagement of the Prevention and Mitigation Center, 14th Region, Udon Thani classified by working position and organization as overall and or aspect were indifferent.
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร