รูปแบบการบริหารแบบฐานโรงเรียนในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารแบบฐานโรงเรียนในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหาการบริหารแบบฐานโรงเรียนในสถานศึกษาขนาดเล็ก 2) สร้างรูปแบบการบริหารแบบฐานโรงเรียนในสถานศึกษาขนาดเล็ก และ 3) นำเสนอรูปแบบการบริหารแบบฐานโรงเรียนในสถานศึกษาขนาดเล็ก โดยดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารแบบฐานโรงเรียนในสถานศึกษาขนาดเล็ก โดยการศึกษา วิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารแบบฐานโรงเรียนในสถานศึกษาขนาดเล็กต้นแบบ 3 โรงเรียน และวิเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบ ทั้งองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อย ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการบริหารแบบฐานโรงเรียนในสถานศึกษาขนาดเล็ก โดยประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 19 คน และระยะที่ 3 นำเสนอรูปแบบการบริหารแบบฐานโรงเรียนในสถานศึกษาขนาดเล็ก เสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิโดยการจัดสัมมนาอิงผู้ทรงคุณวุฒิ (Connoisseurship) จำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการบริหารแบบฐานโรงเรียนในสถานศึกษาขนาดเล็กทั้ง 4 ด้านพบว่า การดำเนินการโดยรวมเน้นการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา ทำงานในรูปคณะกรรมการ การสร้างความสัมพันธ์ความรักความเอื้ออาทรต่อกัน และความเข้าใจอันดีระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน การสร้างความตระหนักให้ชุมชนเห็นว่าทุกคนทำเพื่อลูกหลาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนเพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษา ส่วนปัญหาการบริหารแบบฐานโรงเรียนในสถานศึกษาขนาดเล็ก โดยภาพรวมทั้งด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์การ ด้านการอำนวยการ และด้านการควบคุม พบว่า ส่วนใหญ่มีปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับความขาดแคลนทรัพยากรการบริหาร ทั้งทรัพยากรบุคคลและงบประมาณ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับโรงเรียนได้รับการจัดสรรงบประมาณตามรายหัวนักเรียนไม่เพียงพอต่อการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก ปัญหาเกี่ยวกับจำนวนครูและบุคลากรมีจำนวนจำกัด แต่มีภาระงานมาก ทำให้ครูคนหนึ่งต้องรับผิดชอบงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน บางกิจกรรมขาดความต่อเนื่อง ขาดการกำกับติดตาม และปัญหาการประกันคุณภาพภายในมาตรฐานที่ 5 ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
2. รูปแบบการบริหารแบบฐานโรงเรียนในสถานศึกษาขนาดเล็ก มีองค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบ (1) ด้านการวางแผน โดยการกำหนดยุทธศาสตร์ แนวทางการนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ และติดตามและประเมินผล โดยเน้นการมีส่วนร่วมคิดร่วมทำของชุมชนแบบ M-SPA+บวร คือการแสวงหา Money และ Material ด้วยการระดมพละกำลัง Strength และการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายอย่างจริงจัง Participation ด้วยความมีอิสระและความเต็มใจ Autonomy ของบ้าน,วัดและโรงเรียน (2) ด้านการจัดองค์การ โดยการจัดโครงสร้างองค์การ การประสานงานและการจัดสรรทรัพยากร และการติดตามประเมินผล โดยใช้ทั้งแบบแนวตั้งและแนวนอน (3) ด้านการอำนวยการ โดยใช้ภาวะผู้นำ การจูงใจ การสั่งการ การติดต่อสื่อสาร และการสร้างและพัฒนาทีมงาน และการบริหารความขัดแย้ง โดยเน้นแบบการสื่อสารสองทางและใช้แนวทาง Win and Win ในการแก้ไขปัญหา (4) ด้านการควบคุม การกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน การจัดระบบประกันคุณภาพ และการติดตามประเมินผล โดยใช้การมีส่วนร่วมของชุมชน และการจัดเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ SBN : Share Bar and Network
3. ผลการนำเสนอรูปแบบ จากการสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิ ปรากฏว่า ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่ามีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 4 ด้าน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มีความเหมาะสมและประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ผลการประเมินระดับความเห็นด้วยกับรูปแบบ ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นด้วยกับรูปแบบ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ส่วนความคิดเห็นเพิ่มเติม ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่า รูปแบบการบริหารแบบฐานโรงเรียนในสถานศึกษาขนาดเล็ก โรงเรียนจะขาดชุมชนไม่ได้ ชุมชนต้องใกล้ชิดกับครูและนักเรียน เพื่อพัฒนาการศึกษาของนักเรียนซึ่งเป็นบุตรหลานของตนเอง
ABSTRACT
The general objective of the research was to present a school-based management model in the small-sized schools under the Basic Education Commission Office. The specific objectives were 1) to study the current conditions and problems of the school-based management model, 2) to construct a school-based management model for the small-sized schools and 3) to present a school-based management model. The research consisted of three stages: Stage one concerning the current conditions and problems studied the concepts, theories and related research in terms of the current conditions and problems of the school-based management model in three model schools, and finally analyzed the components of the model. Stage two constructed the school-based model which was evaluated by 19 experts for suitability, possibility and usefulness. Stage three presented the school-based model to 15 experts based on their connoisseurship.
The research findings were as follows.
1. As regards the school-based management model, it was found that there were participation of the Basic Education Commission; mutual relationships; good understanding between the communities, the monasteries and the schools; community awareness and development to elevate the educational standard. Regarding the problems of the school-based management model, it was found that the majority of the schools had experienced the problems of personnel and resource shortage. The schools received insufficient budget to carry out an efficient education development. The teachers and the personnel were inadequate. As a result they were overloaded with tasks. One was given multitasks. In addition, there was no follow-up.
2. The school-based management model was composed of 4 main components. 1) Planning: Strategies and their application, follow-up and evaluation were emphasized. A community participation was given an emphasis
liked M-SPA+temple, house and school was seek for Money,Material with Strength, Participation, and Autonomy by temple,house,and school. 2) Organizational management: the structural management, coordination and resource allocation, follow-up and evaluation could be applicable horizontally and vertically. 3) Facilitation: priority was given to leadership, motivation; communication and team development through a two-way communication and use the trend Win and Win in the remedy. 4) Control: practice, quality systematization and evaluation were standardized with community participation and network arrangement exchanges to learn SBN : Share Bar and Network .
3. On the results of the model presentation to the experts, it was found that the model in the study was found to be suitable, possible and useful at the highest level in four aspects. Considering individual aspects, it was found that it was suitable and useful at the highest level. The experts agreed with the model at the highest level. Furthermore, the experts added that as far as the school-based management model, the community was indispensible. It was essential for the school to establish the relations with the community for desirable educational development of the children.
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร