คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์โดยสอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีผลต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง พืชใกล้ตัวเรา ของนักเรียนชั้นประถมศึก
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผล ของคู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์โดยสอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง พืชใกล้ตัวเรา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้น 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง พืชใกล้ตัวเรา ระหว่างก่อนและหลังเรียน ด้วยคู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยสอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 5) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูง ปานกลาง และต่ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง พืชใกล้ตัวเรา ระหว่างก่อนและหลังเรียน ด้วยคู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยสอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ใกล้เคียงกันหรือไม่ อย่างไร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบ้านศรีวิชา
“คุรุราษฎร์อุทิศ” สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษา สกลนคร เขต 1 จำนวนนักเรียนทั้งหมด 30 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) คู่มือกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง พืชใกล้ตัวเรา ที่มีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์โดยสอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3 แผน 40 ชั่วโมง เรื่อง พืชใกล้ตัวเรา ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 ส่วนแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ค่าความเที่ยงเท่ากับ 1 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .80 และแบบวัดเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .84 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ค่าความเที่ยงเท่ากับ 1 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t–test for Dependent Samples) (t–test One Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณทางเดียว (One –Way MANOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One–Way ANOVA)
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร