การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3

Main Article Content

พลวิทย์ พลราชม
บุญมี ก่อบุญ
วาโร เพ็งสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียน 2) ศึกษาระดับการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียน 3) ศึกษาระดับประสิทธิผลของโรงเรียน 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียน 5) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ขององค์ประกอบของการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน และ 6) เสนอแนวทางพัฒนาการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 412 คน การได้มาของกลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้แก่ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.49–0.90 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 และ 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลของโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.49–0.85 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัย พบว่า


1. องค์ประกอบของการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียน มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ด้านการกำหนดทิศทางขององค์การ ด้านการกำหนดแผนกลยุทธ์ ด้านการนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ด้านการประเมินและควบคุมกลยุทธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นว่าทั้ง 5 องค์ประกอบ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด


2. การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 อยู่ในระดับมากที่สุด


3. ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 อยู่ในระดับมากที่สุด


4. การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 มีความสัมพันธ์ในทางบวก ในระดับ .01


5. การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ด้านการนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ และด้านการประเมินและควบคุมกลยุทธ์ มีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 58 ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการพยากรณ์ (Standard Error) .22 ซึ่งสามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ ได้ดังนี้ Y/ = 1.83+.36X4 +.24X5 และสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานดังนี้ Z/y = .53Z4+.29Z5


6. แนวทางการพัฒนาการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ประกอบด้วย 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ มีแนวทางการพัฒนา 14 ข้อ และด้านการประเมินและควบคุมกลยุทธ์ มีแนวทางการพัฒนา 12 ข้อ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธนพล มหากาล. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์กับการบริหารงานงบประมาณ แบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

นาถธิดา เจริญสุข (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์กับองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

เบญจมาศ ตันสูงเนิน. (2561). การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 1 “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2018 of Suan Sunandha Rajabhat University” : การบริหารเชิงกลยุทธ์ในสถานศึกษา. 30 พฤศจิกายน 2561. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

เพ็ญพิชชา โคตรชาลี. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูงของโรงเรียน สังกัด เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ ค.ม. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ภริญา ขัตติยะ. (2561). การบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนวัดวังน้ำขาว. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ฤมล สอนดี. (2561). การบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐในจังหวัดราชบุรี. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 9(2), 229–241.

วรัทยา ธนพัฒนรุ่งโรจน์ (2559). การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนสีกัน (วัฒนานันท์อุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ. 2558. ปัญหาการศึกษาไทย: การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 15(2), 50–51.

สิทธิชัย อุสาพรม. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานของกลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุพัตรา ขันทอง (2562). แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2553). การบริหารเชิงกลยุทธ์: แนวคิด และทฤษฎี. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด(มหาชน).

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. (2558). แผนกลยุทธ์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2559–2563). สกลนคร: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3.

_______. (2564). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2564–2566). สกลนคร: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3.

_______. (2566). ข้อมูลนักเรียน 10 มิ.ย. 2566. เข้าถึงได้จาก http://sakonnakhon3.go.th/new/?p=29344. 8 สิงหาคม 2566.

Forsyth, P., Adams, C., & Hoy, W. (2011). Collective Trust: Why Schools Can't Improve Without It. New York: Teachers College, Columbia University.

Thompson, A. A., & Strickland, A.J. (1986). Strategy formulation and implementation. Texas: Business publication, inc.

Wheelen, T. L., & Hunger, J. D. (2012). Strategic management and business policy: toward global sustainability. (13thed). New Jersey: Prentice Hall, Pearson Education, inc.