แนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ 2) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ 3) เพื่อพัฒนาแนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ 4) เพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 28 คน และครูจำนวน 211 คน รวมทั้งสิ้น 239 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเป็นไปได้ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (PNIModified)
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ ที่มีค่าสูงกว่าค่าโดยรวม จำนวน
4 ด้าน ได้แก่ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการส่งเสริมนักเรียน ด้านการพัฒนาและสนับสนุนนักเรียน และด้านการคัดกรองนักเรียน ตามลำดับ 3) ผลการพัฒนาแนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 4) ผลการประเมินแนวทางพัฒนา โดยรวม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
References
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค. (2564). สำรวจผลกระทบหลัง COVID–19 จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของการศึกษาโลก. เข้าถึงได้จาก https://workpointtoday.com/. 3 มีนาคม 2566.
มยุรี สารีบุตร และอุทัย ภิรมย์รื่น. (2560). ปัจจัยความสำเร็จของการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีผลต่อคุณภาพนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 9(2), 289-303.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน (2563). (ร่าง) คู่มือการคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ฉบับพัฒนา พ.ศ. 2563). กรุงเทพฯ: ศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). คู่มือการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
_______. (2563ก). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2565. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
_______ (2563ข). คู่มือการคัดเลือกสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อรับรางวัลระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประจำปี 2563. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
_______ (2564). คู่มือการคัดเลือกสถานศึกษาและสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาเพื่อรับรางวัลระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประจำปี 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
_______ . (2566). คู่มือการคัดเลือกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประจำปี 2566. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. (2565). คู่มือนวัตกรรม NKP ONE สู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษา. นครพนม: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565ก). มาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้. สมุทรปราการ: บริษัท เอส.บี.เค.การพิมพ์.
Angeles Sánchez–Elvira Paniagua and Ormond Simpson. (2018). Developing Student Support for Open and
Distance Learning: The EMPOWER Project, Journal of Interactive Media in Education, 9(1), 1-10.