แนวทางการพัฒนากลุ่มอาชีพชุมชน ขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

นงค์ลักษณ์ ตั้งปรัชญากูล

Abstract

            การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานกลุ่มอาชีพชุมชนขององค์การบริหาร  ส่วนตำบลโพนงาม  อำเภอกมลาไสย  จังหวัดกาฬสินธุ์  2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มอาชีพชุมชนและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีต่อแนวทางการพัฒนากลุ่มอาชีพชุมชน ขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม  อำเภอกมลาไสย  จังหวัดกาฬสินธุ์ 3) เพื่อหาแนวทางการพัฒนากลุ่มอาชีพชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม อำเภอกมลาไสย  จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ สมาชิกกลุ่มอาชีพชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม  จำนวน 188 คน ใช้การสุ่มแบบอย่างง่าย  และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล  จำนวน  26  คน รวมทั้งสิ้น จำนวน  214  คน  

ผลการศึกษาพบว่า

     1. สมาชิกกลุ่มอาชีพชุมชนและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานของกลุ่มอาชีพชุมชน ขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม  อำเภอกมลาไสย  จังหวัดกาฬสินธุ์  โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน  พบว่า อยู่ในระดับมาก เพียงด้านเดียว คือ ด้านการผลิตและคุณภาพ   และอยู่ในระดับปานกลาง 5 ด้าน ได้แก่  ด้านประสิทธิภาพองค์กร  ด้านงบประมาณ  ด้านการบริหารจัดการกลุ่ม  ด้านการตลาด  และด้านวัฒนธรรมองค์กร  ตามลำดับ

                 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม กับสมาชิกกลุ่มอาชีพชุมชน

ที่มีต่อสภาพการดำเนินงานกลุ่มอาชีพชุมชน ขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม  อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์  จำแนกตามเพศ พบว่า ประชาชนที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นโดยรวมไม่แตกต่างกัน

                 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนากลุ่มอาชีพชุมชน ขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม อำเภอกมลาไสย  จังหวัดกาฬสินธุ์   พบว่า  กลุ่มอาชีพต้องการให้มีการระดมทุนของกลุ่มและมีการสนับสนุนเงินทุน จากภายนอกที่เกี่ยวข้อง เพื่อการกู้ยืมในการพัฒนากลุ่มอาชีพ เช่น ขอรับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอกมลาไสย เกษตรอำเภอกมลาไสย  องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม  หรือเพิ่มหุ้นเพื่อระดมทุนจากสมาชิก ในกลุ่มมากที่สุด รองลงมา คือ กลุ่มควรมีแนวทางในการบริหารจัดการความขัดแย้งที่ชัดเจน  ผู้บริหารกลุ่มควรเปิดโอกาสให้สมาชิกเสนอแนะแนวทางเพื่อการพัฒนากลุ่มอาชีพของตน มีการนำวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนมาสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้ผลิตภัณฑ์  และกลุ่มอาชีพควรแสวงหาตลาดใหม่เพิ่มเติมอยู่เสมอ

Article Details

Section
บทความวิจัย