การพัฒนาฐานเรียนรู้ในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษา บ้านโนนสวรรค์ หมู่ที่ 8 ตำบลพังขว้าง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร

Main Article Content

วีรธิดา วงศ์มหาชัย

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนด้านการพัฒนาฐานเรียนรู้ในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาบ้านโนนสวรรค์ หมู่ที่ 8 ตำบลพังขว้าง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร 2) พัฒนาฐานเรียนรู้ในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาบ้านโนนสวรรค์ หมู่ที่ 8 ตำบลพังขว้าง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร  ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ  กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัยพบว่า

                 1. บริบทบ้านโนนสวรรค์ หมู่ที่ 8 ตำบลพังขว้าง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร พบว่า 1) สภาพปัญหาด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนมีน้อยเนื่องจากชาวบ้านมีภาระในการประกอบอาชีพ ไม่มีการสืบสานและถ่ายทอดภูมิปัญญาให้แก่รุ่นลูกหลาน ชุมชนยังใช้สารเคมีในการทำการเกษตรกรรม การขาดความรู้และทักษะในการบริหารจัดการกลุ่ม รวมทั้งมีต้นทุนในการผลิตสูง ประชาชนมีปัญหาหนี้สิน ขาดงบประมาณ ในการขยายผลหรือต่อยอดกิจกรรม คณะกรรมการหมู่บ้านสวมหมวกหลายใบไม่มีเวลาในการทำงานอย่างเต็มที่  2) ความต้องการในการพัฒนาฐานเรียนรู้ในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง บ้านโนนสวรรค์ หมู่ที่ 8 ตำบลพังขว้าง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร มีดังนี้ การเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน มีผักปลอดสารพิษไว้บริโภคและจำหน่าย ประชาชน ในหมู่บ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ปลอดภัยจากยาเสพติด การสร้างอาชีพเสริมจากผลผลิตทางการเกษตร และแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือน มีการอนุรักษ์และฟื้นฟูสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นที่เลือนหายให้คงอยู่สืบต่อไป มีกิจกรรมทางการเกษตรอินทรีย์ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีทางด้านการเกษตรที่เหมาะสม และมีการผลิตอาหารสัตว์ การผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ดที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นแหล่งจำหน่าย

                 2. การพัฒนาฐานเรียนรู้ในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาบ้านโนนสวรรค์ หมู่ที่ 8 ตำบลพังขว้าง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร มีจำนวน 6 ฐานเรียนรู้ ประกอบด้วย ฐานเรียนรู้ที่ 1 ด้านการลดรายจ่าย ฐานเรียนรู้ที่ 2 ด้านการเพิ่มรายได้ ฐานเรียนรู้ที่ 3 ด้านการประหยัด ฐานเรียนรู้ที่ 4 ด้านการเรียนรู้ฐานเรียนรู้ที่ 5 ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และฐานเรียนรู้ที่ 6 ด้านการเอื้ออารีต่อกัน ส่วนการอบรมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาฐานเรียนรู้ในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงบ้านโนนสวรรค์ หมู่ที่ 8 ตำบลพังขว้าง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร  พบว่าผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

                 2. การพัฒนาฐานเรียนรู้ในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาบ้านโนนสวรรค์ หมู่ที่ 8 ตำบลพังขว้าง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร มีจำนวน 6 ฐานเรียนรู้ ประกอบด้วย ฐานเรียนรู้ที่ 1 ด้านการลดรายจ่าย ฐานเรียนรู้ที่ 2 ด้านการเพิ่มรายได้ ฐานเรียนรู้ที่ 3 ด้านการประหยัด ฐานเรียนรู้ที่ 4 ด้านการเรียนรู้ฐานเรียนรู้ที่ 5 ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และฐานเรียนรู้ที่ 6 ด้านการเอื้ออารีต่อกัน ส่วนการอบรมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาฐานเรียนรู้ในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงบ้านโนนสวรรค์ หมู่ที่ 8 ตำบลพังขว้าง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร  พบว่า  ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 

Article Details

Section
บทความวิจัย