ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างจิตสาธารณะในการจัดกิจกรรมนักศึกษา : กรณีศึกษานักศึกษาสาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
Main Article Content
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดกิจกรรมนักศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชาฟิสิกส์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2) สร้างยุทธศาสตร์การเสริมสร้างจิตสาธารณะ ในการจัดกิจกรรมนักศึกษาสาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครและ 3) ศึกษาจิตสาธารณะของนักศึกษาสาขาวิชาฟิสิกส์หลังการใช้ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างจิตสาธารณะในการจัดกิจกรรมนักศึกษา สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร บัณฑิตสาขาวิชาฟิสิกส์ จำนวน 30 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยการ SWOT Analysis การถอดบทเรียน แบบสอบถาม แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วมและแบบวัดจิตสาธารณะ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดกิจกรรมนักศึกษา คือ 1) การแบ่งพรรคแบ่งพวกกันในการทำงาน 2) งบประมาณที่นำมาจัดกิจกรรมนักศึกษามาจากเงินส่วนตัวนักศึกษา 3) ผู้นำในการจัดกิจกรรมขาดคุณลักษณะในการเป็นผู้นำ 4) การกำหนดหน้าที่ไม่ชัดเจน 5) ขาดประสบการณ์การดำเนินงานและการถ่ายทอดกระบวนการทำงานจากรุ่นพี่ไปยังรุ่นน้อง
6) การขาดความรู้เรื่องการเขียนหนังสือราชการ การเขียนโครงการ การประสานงานกับส่วนราชการและ 7) วุฒิภาวะทางอารมณ์
2. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างจิตสาธารณะในการจัดกิจกรรมนักศึกษาสาขาวิชาฟิสิกส์ มี 3 ยุทธศาสตร์ คือ 1) การเรียนรู้คู่การทำงาน มี 2 กลยุทธ์ และมี 3 โครงการ 2) บัณฑิตที่พึงประสงค์มี 3 กลยุทธ์และมี 2 โครงการ 3) การสร้างเครือข่ายกับชุมชนมี 3 กลยุทธ์ และ มี 1 โครงการ
3. ผลการทดลองใช้ยุทธศาสตร์เสริมสร้างจิตสาธารณะในการจัดกิจกรรมนักศึกษา พบว่า
3.1 ผลการประเมินตนเองของนักศึกษาด้านพฤติกรรมจิตสาธารณะ พบว่า จิตสาธารณะของนักศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านความรับผิดชอบ ด้านความสามัคคี ความมีวินัยในตนเอง ความซื่อสัตย์ ความเสียสละและมีน้ำใจ
3.2 ผลการเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษา พบว่า พฤติกรรมโดยรวมอยู่ในระดับ มาก ทั้งผลที่ได้รับขณะ เข้าร่วมกิจกรรม ผลกระทบจากการเข้าร่วมกิจกรรม และผลสัมฤทธิ์จากการเข้าร่วมกิจกรรม
3.3 ผลการสังเกตพฤติกรรมจากผู้นำชุมชนที่นักศึกษาไปทำกิจกรรม พบว่า พฤติกรรมของนักศึกษาด้านความรับผิดชอบ ด้านความสามัคคี ด้านความเสียสละและมีน้ำใจ ความมีวินัยในตนเอง และด้านความซื่อสัตย์ อยู่ระหว่างร้อยละ 62.50-98.75
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร