ชุดฝึกประสบการณ์การเรียนรู้แบบ 4 MAT ร่วมกับเทคนิคการเรียน แบบร่วมมือที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ความพึงพอใจในกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโพนวัฒนาวิทยา สำนักงานเขต
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกประสบการณ์การเรียนรู้ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความพึงพอใจก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความสามารถทางการเรียนต่างกัน (สูง ปานกลาง และต่ำ) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโพนวัฒนาวิทยา ภาคเรียนที่ 2 การศึกษา 2554 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย
1) ชุดฝึกประสบการณ์การเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์
4) แบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี สถิติทดสอบค่าที (t-test for Dependent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณทางเดียว (One–way MANOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One–way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดฝึกประสบการณ์การเรียนรู้มีคุณภาพอยู่ในระดับดี
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนความพึงพอใจต่อชุดฝึกประสบการณ์การเรียนรู้แบบ 4 MAT ร่วมกับเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือหลังเรียนไม่มีความแตกต่างกัน
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร