การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบจิตปัญญาร่วมกับการเรียนรู้โดย ใช้ปัญหาเป็นฐาน ที่มีผลต่อความพึงพอใจ ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัย
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบจิตปัญญาร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานให้มีประสิทธิภาพ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ระหว่างก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบจิตปัญญาร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 3) เปรียบเทียบความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัย ระหว่างก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบจิตปัญญาร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 4) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบจิตปัญญาร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยจำแนกตามลักษณะของสถานภาพทางครอบครัวของผู้ปกครองที่แตกต่างกันและ 5)เปรียบเทียบความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบจิตปัญญาร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กชาย-เด็กหญิงอายุระหว่าง 4-5 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนบ้านดอนศาลาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบจิตปัญญาร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) แบบวัดความพึงพอใจ 3) แบบประเมินความสามารถในการคิดแก้ปัญหา 4) แบบสังเกตพฤติกรรมความเชื่อมั่นในตนเองและ 5) แบบสัมภาษณ์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t–test for Dependent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณร่วมทางเดียว (One –way MANCOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (One–way ANCOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
1. แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบจิตปัญญาร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีประสิทธิภาพโดยการประเมินความเหมาะสมของผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับเหมาะสมมากขึ้นไปดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.)เท่ากับ 0.72 แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็น ร้อยละ 72 และสัมประสิทธิ์ของความแปรผัน (Coefficient of variation : C.V.) เท่ากับ 9.83
2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบจิตปัญญาร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา หลังได้รับการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบจิตปัญญาร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีความเชื่อมั่นในตนเอง หลังได้รับการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. เด็กปฐมวัยที่มีสถานภาพทางครอบครัวของผู้ปกครองที่แตกต่างกัน เมื่อได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบจิตปัญญาร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และความเชื่อมั่นในตนเอง แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบจิตปัญญาร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีความพึงพอใจหลังการจัดประสบการณ์อยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร