การพัฒนาวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง จำนวนจริง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ชนิดา ทวีศรี

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่องจำนวนจริง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกีฬาจังหวัดอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2555 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองที่สอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่องจำนวนจริง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และกลุ่มควบคุมที่สอนโดยวิธีการสอนแบบปกติ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ

            กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนกีฬาจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 64 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 32 คน และกลุ่มควบคุม 32 คน โดยใช้การสุ่มแบบกลุ่ม กลุ่มทดลองจัดกิจกรรมการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มควบคุมจัดกิจกรรมการสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบปกติ ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 15 ชั่วโมง

            เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผู้วิจัย พัฒนาขึ้น ซึ่งมีค่าความยากตั้งแต่ .56 ถึง .80 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .24 ถึง .59 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ .80 และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t แบบสองกลุ่มอิสระกัน

            ผลการวิจัยพบว่า

                 1. แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง จำนวนจริง ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ 76.64/76.56 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้

                 2. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง จำนวนจริง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .01

               3. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง จำนวนจริง มีความพึงพอใจต่อการเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด (\bar{x}= 4.52) 

Article Details

Section
บทความวิจัย