การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้โดยการผสมผสานกลวิธีเมตตาคอกนิชันและรูปแบบซินเนคติกส์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านจับใจความและการเขียนภาษาไทย เชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้โดยการผสมผสานกลวิธีเมตตาคอกนิชันและรูปแบบซินเนคติกส์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านจับใจความและการเขียนภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา 2) ศึกษาผลการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้โดยการผสมผสานกลวิธีเมตตาคอกนิชันและรูปแบบซินเนคติกส์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านจับใจความและการเขียนภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา ได้แก่ ศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนและหลังการทดลอง และศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนและหลังการทดลอง ดำเนินการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ โดยศึกษาข้อมูลพื้นฐาน แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาสร้างยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้แล้วนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร จำนวน 34 คน ระยะเวลาทดลอง 15 สัปดาห์ วัดผลการทดลองใช้ยุทธศาสตร์ โดยวัดความสามารถในการอ่านจับใจความและการเขียนภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์ ก่อนและหลังการทดลอง สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบทีแบบไม่อิสระ
ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้โดยการผสมผสานกลวิธีเมตตาคอกนิชันและรูปแบบซินเนคติกส์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านจับใจความและการเขียนภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาที่ผู้ศึกษาพัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบของยุทธศาสตร์ 2 ด้าน คือ 1) ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย ขั้นตอนการ
จัดการการเรียนรู้ 6 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจสู่บทเรียน ขั้นที่ 2 ขั้นการอ่าน ขั้นที่ 3 ขั้นควบคุมการอ่าน ขั้นที่ 4 ขั้นจินตภาพ ขั้นที่ 5 ขั้นเรียงคำนำความรู้ ขั้นที่ 6 ขั้นสรุปเนื้อหา 2) ด้านปัจจัยสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ มี 2 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 การจัดสภาพแวดล้อม ด้านที่ 2 หนังสือส่งเสริมการอ่านโดยผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 2 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.51 และ 4.61 ตามลำดับ
2. ผลการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้ พบว่า
2.1 ผลการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่านจับใจความ นักเรียนที่เรียนโดยการผสมผสานกลวิธีเมตตาคอกนิชันและรูปแบบซินเนคติกส์มีความสามารถในการอ่านจับใจความ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 และนักเรียนมีความสามารถในการอ่านจับใจความหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
2.2 ผลการเรียนรู้ภาษาไทยด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ นักเรียนที่เรียนโดยการผสมผสานกลวิธีเมตตาคอกนิชันและรูปแบบซินเนคติกส์มีความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 และมีความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร