รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเหนือผู้นำสำหรับการปกครอง ส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลใน จังหวัดสกลนคร
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์องค์ประกอบของภาวะผู้นำเหนือผู้นำสำหรับการปกครองส่วนท้องถิ่น และ 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเหนือผู้นำสำหรับการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้วิธีการวิจัยแบบพหุวิธี ได้แก่ การวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ การศึกษารายกรณี การใช้เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง จำนวน 3 รอบ และการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้ ประกอบไปด้วย กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 คน กรณีศึกษา จำนวน 9 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงสำรวจ คือสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดสกลนคร จำนวน 324 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยล่ะ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์
ผลการวิจัย พบว่า
1. องค์ประกอบของภาวะผู้นำเหนือผู้นำ ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ เป็น 1) การทำให้บุคลากรเป็นผู้นำตนเอง
2) การแสดงเป็นแบบฉบับให้บุคลากรตั้งเป้าหมายด้วยตนเอง 3) การกระตุ้นให้บุคลากรตั้งเป็นเป้าหมายด้วยตนเอง 4) การสร้างรูปแบบความคิดทางบวก 5) การอำนวยความสะดวกให้เกิดภาวะผู้นำตนเองโดยการให้รางวัล และตำหนิอย่างสร้างสรรค์ 6) การสนับสนุนให้เกิดผู้นำตนเองโดยการสร้างคณะทำงาน และ 7) การอำนวยความสะดวกให้เกิดวัฒนธรรมของผู้นำตนเอง
2. ผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเหนือผู้นำ สำหรับการปกครองส่วนท้องถิ่นลักษณะเป็นรูปแบบเชิง
โครงสร้างที่ประกอบด้วยองค์ประกอบดังนี้ 1) ภูมิหลัง 2) แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 3) หลักการ 4) วัตถุประสงค์ 5) เนื้อหา 6) แนวทางในการพัฒนา 7) การวัดและการประเมินผล ประกอบด้วย 11 แนวทาง ได้แก่ 1. การอบรมเชิงปฏิบัติการ 2. การฝึกการวิเคราะห์งานแบบ SWOT Analysis 3. การสอนแนะ 4. การศึกษาด้วยตนเอง 5. กรณีศึกษา 6. การระดมสมอง 7. การหมุนเวียนเปลี่ยนงาน 8. การศึกษาดูงาน 9. การฝึกวิธีทำงาน 10. การฝึกในสถานการณ์จำลอง และ 11. การพัฒนาจิต
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร