ความสัมพันธ์ของความตั้งใจในการใช้งานระบบกับผลการเรียนกระบวนวิชา COS2101 การเขียนโปรแกรมเชิงกระบวนการ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ของความตั้งใจในการใช้งานระบบกับผลการเรียนกระบวนวิชา COS2101 การเขียนโปรแกรมเชิงกระบวนการ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง และ 2) ศึกษาปัจจัยที่ทำให้ความตั้งใจในการใช้งานระบบของนักศึกษาที่มีผลการเรียนผ่านเกณฑ์และไม่ผ่านเกณฑ์แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 64 คน เป็นนักศึกษาภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ลงทะเบียนวิชา COS2101 การเขียนโปรแกรมเชิงกระบวนการ ในภาค 2 และภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าสถิติพรรณนาและอนุมาน ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และแบบทดสอบไคกำลังสองเกี่ยวกับความเป็นอิสระ
ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1. การทบทวนเนื้อหาก่อนเรียน ความสม่ำเสมอในการเรียน ความสม่ำเสมอในการทำแบบฝึกหัด และการส่งการบ้านมีความสัมพันธ์กับผลการเรียนกระบวนวิชา COS2101 การเขียนโปรแกรมเชิงกระบวนการ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. ปัจจัยที่ทำให้ความตั้งใจในการใช้งานระบบของนักศึกษาที่มีผลการเรียนผ่านเกณฑ์ ได้แก่ ทบทวนเนื้อหาก่อนเรียนทุกครั้ง มีความมุ่งมั่นตั้งใจเรียนมาก มีความสม่ำเสมอในการเรียน ขยันเรียนและทำแบบฝึกหัดครบทุกครั้ง หยุดรับชมวีดิทัศน์ในระดับมาก และส่งการบ้าน ปัจจัยที่ทำให้ความตั้งใจในการใช้งานระบบของนักศึกษาที่มีผลการเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ ได้แก่ มีการทบทวนเนื้อหาก่อนเรียนบางครั้ง มีความมุ่งมั่นตั้งใจเรียนมากแต่เรียนเฉพาะเนื้อหาที่สนใจ หยุดรับชมวีดิทัศน์ระดับปานกลาง ทำแบบฝึกหัดบ้างและส่วนใหญ่ไม่ทำการบ้าน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
References
ขวัญเรือน ก๋าวิตู และคณะ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยและพฤติกรรมการปรับตัวในการเรียนออนไลน์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาล ในมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ, 7(2), 196–211.
จอมพล เล้ารุ่งเรือง. (2561). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กรณีศึกษา: นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วิทยานิพนธ์ วท.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
แนวหน้า. (2563). วิจัยพฤติกรรมนักเรียนศึกษาผ่านออนไลน์ ยอดดาวน์โหลดทะลุแสนแต่ไร้สมาธิ. เข้าถึงได้จาก https://www.naewna.com/relation/502760. 1 กรกฎาคม 2563.
มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2560). หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2560). กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2562). วิสัยทัศน์และพันธกิจ. เข้าถึงได้จาก http://www.ru.ac.th. 6 มกราคม 2565.
วรากรณ์ สามโกเศศ. (2563). 6 ปัจจัย เรียนออนไลน์ให้ได้ผลในมุมมองของ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ. เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/881331. 20 พฤษภาคม 2563.
สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สุนทรี รินทร์คำ และศรัญญา พรหมโคตร. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสอบตกรายวิชาเคมีสำหรับวิศวกรของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 15(2), 75–87.
สุรชาติ พุทธิมา และชโรชีนีย์ ชัยมินทร์. (2563). พฤติกรรมการเรียนแบบออนไลน์และความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนการสอนแบบออนไลน์ของนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรค COVID–19. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.
อุไร ทองหัวไผ่. (2563). ประสบการณ์วิชาชีพวิทยาการคอมพิวเตอร์ หน่วยที่ 6. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Delone, W. H., & Mclean, E. R. (2003). The DeLone and McLean model of information system success: a ten–year update. Journal of management information system, 19(4), 9–30.
Holsapple, C. W., & Lee–Post, A. (2006). Defining, assessing, and promoting e–learning success: An information systems perspective. Decision sciences journal of innovative education, 4(1), 67–85.