ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลัง ของผู้ใหญ่วัยกลางคน ตำบลบางเลน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

เรวศรี กฤษณชาญดี
สุภาสิณี นุ่มเนียม
จุฑาทิพย์ ถาวรรัตน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของปัจจัยและพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มี
พฤฒพลังของผู้ใหญ่วัยกลางคน และ 2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลัง ของผู้ใหญ่วัยกลางคน ประชากร คือ ผู้มีอายุ 35–59 ปี พื้นที่ตำบลบางเลน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 2,581 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 353 คน ได้จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างคำนวณจากสูตรของ ทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane, 1973) จากนั้นใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลัง มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .962 และแบบสอบถามปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุ
ที่มีพฤฒพลัง มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .856 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลัง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ตัวแปรปัจจัยการมุ่งอนาคต ควบคุมตน ความเชื่ออำนาจในตน ทัศนคติที่ดีต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลัง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ปัจจัยการสนับสนุนทางสังคมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย และ 2) อายุ รายได้ เงินออม การมุ่งอนาคตควบคุมตน ความเชื่ออำนาจในตน ทัศนคติที่ดีต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลัง และการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยที่ส่งผลกับพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลัง ได้แก่ การมุ่งอนาคตควบคุมตน ทัศนคติที่ดีในการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลัง การสนับสนุนทางสังคม อายุ และเงินออม สามารถร่วมกันทำนายความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมได้ 56.90%  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Zy = .503X7 +.224 X9 +.145X10  +.117X1 + .078X4

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิราวรรณ ชาลี. (2555). การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของประชากรในเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ดลนภา ไชยสมบัติ และบัวบาน ยะนา. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุของประชากร วัยก่อนสูงอายุ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 29(3), 131–143.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2543). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม: การวิจัยและการพัฒนาบุคคล. กรุงเทพฯ: โครงการส่งเสริมเอกสารวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

ทิพย์วิภา เพ็งศรี สุภาสิณี นุ่มเนียม และสันติ ศรีสวนแตง. (2564). จิตลักษณะและสถานการณ์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรม ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 18(83), 42–51.

นวรัตน์ จั่นเพชร. (2558). การเตรียมความพร้อมของบุคลากรเพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพของกรมควบคุมโรค. วิทยานิพนธ์ สส.ม.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วชากร นพนรินทร์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ ส.ม. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วรเวศม์ สุวรรณระดา. (2565). ชุมชน–คุณภาพชีวิต. เข้าถึงได้จาก https://mgronline.com/qol/detail/9650000011269. 20 มีนาคม 2566.

วัลภา สบายยิ่ง. (2560). จิตวิทยาและวิทยาการการเรียนรู้. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2566). สถิติจำนวนประชากร. เข้าถึงได้จาก https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/webPage/statByYear.php. 20 มีนาคม 2566.

องค์การบริหารส่วนตำบลบางเลน. (2566). ข้อมูลพื้นฐานองค์การบริหารส่วนตำบลบางเลน. เข้าถึงได้จาก https://www.bl.go.th/index/. 20 มีนาคม 2566.

อาภารัตน์ อิงคภากร (2561). การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุของประชาชนเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

House, J. S., & Kahn, R. L. (1985). Measures and Concepts of Social Support. New York: Academic Press.

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.

Who. (2002). Active Ageing A Policy Framework. Retrieved from https://extranet.who.int/agefriendlyworld/wp–content/uploads/2014/06/WHO–Active–Ageing–Framework.pdf. March 15th, 2023.