แนวทางการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู

Main Article Content

สุภาพร ภากระจ่าง
ศักดินาภรณ์ นันที
สุชาติ บางวิเศษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น การบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคดิจิทัล 2) เพื่อสร้างแนวทางการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคดิจิทัล และ 3) เพื่อประเมินแนวทางการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคดิจิทัล วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 18 คน และครูผู้สอน จำนวน 293 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 ระยะที่ 2 การกำหนดแนวทางการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคดิจิทัล แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาพหุกรณี เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกับผู้บริหารสถานศึกษาที่บริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคดิจิทัล จำนวน 3 คน
โดยการเลือกแบบเจาะจง และขั้นตอนที่ 2 การสนทนากลุ่ม โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคดิจิทัล จำนวน 9 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง และ ระยะที่ 3 การประเมินแนวทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจําเป็น (PNIModified) สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์


 ผลการวิจัย พบว่า


1. สภาพปัจจุบันของการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคดิจิทัล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และค่าดัชนีความต้องการจําเป็นความต้องการจำเป็นทุกด้าน โดยมีค่า PNIModified อยู่ระหว่าง 0.13 ถึง 0.17 


2. แนวทางการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคดิจิทัล มีองค์ประกอบ 6 ด้าน 18 วิธีดำเนินงาน 72 กิจกรรม และ 28 วิธีปฏิบัติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2558). รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2558. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด งานพิมพ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2564). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

รัชพล เที่ยงดี. (2563). การศึกษาการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์ ค.ม. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ศักรินทร์ โพธิ์เพ็ชร. (2559). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. วิทยานิพนธ์ ค.ม. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สรัญญา สิตะพงษ์. (2560). การศึกษาสภาพการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สุวรรณา แสงสุริฉาย. (2556). การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบออนไลน์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

_______. (2557). คู่มือการคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู. (2563). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2563. เลย: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เลย หนองบัวลำภู.

องอาจ อินทร์แฟง. (2559). แนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนในกลุ่มสหวิทยาเขตเมืองสองคลอง จังหวัดกำแพงเพชร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. วิทยานิพนธ์ ค.ม. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

Hoy, K. and Miskel, G. (2001). Educational Administration: Theory, Research and Practice. (9th ed). New York: McGraw-Hill.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.