ทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2

Main Article Content

Chanpen Santhalunai
ลินดา นาคโปย
สายฝน เสกขุนทด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหาร 2) ระดับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารกับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และ 4) ทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครู ปีการศึกษา 2564 จำนวน 302 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางของ เครซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, p. 608) จากนั้นใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (multi-stage sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.80-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัย พบว่า 1) ทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหาร โดยภาพรวมและรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ทักษะด้านวิสัยทัศน์ ทักษะด้านการจูงใจ ทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ และทักษะด้านการทำงานเป็นทีม ตามลำดับ 2) การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา การรายงานผลการประเมินตนเองการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษา การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา การติดตามผลการดำเนินการ และการกำหนดมาตรฐานการศึกษา ตามลำดับ 3) ทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับมากกับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารในด้านทักษะด้านการสื่อสาร (X1) ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ (X2) ทักษะด้านวิสัยทัศน์ (X3) ทักษะด้านการจูงใจ (X5) และทักษะด้านการทำงานเป็นทีม (X4) ร่วมกันส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 62.30 และสามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้คือ Z'Y= .241X1+.227X2+.200X3+.188X5+.139X4

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 11 ก. วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561.

______. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 57 ก วันที่ 1 พฤษภาคม 2562. หน้า 51.

เกศรา สิทธิแก้ว และคณะ. (2560). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 กับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 และเขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี, 11(1), 12-21.

โชคชัย พรหมมาก. (2561). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ณภัทรารัตน์ ศรีเจริญ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

เทวา ตั้งวานิชกพงษ์. (2556). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 7(1), 54-60.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดการและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

นารีรัตน์ คณาจันทร์ และคณะ. (2563). ภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 6(2), 152-161.

ปัทมา ประทุมสุวรรณ. (2562). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ภารดี อนันต์นาวี. (2551). หลักหาร แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: มนตรี, มิเกล กาไรซาบาล.

ภัควิภา ลูกเงาะ. (2562). สภาพและแนวทางการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ยุทธนา อินต๊ะวงค์ และคณะ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดเชียงราย. CMU Journal of Education, 4(2), 1–15.

เลอศักดิ์ ตามา และคณะ. (2564). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วารสารรัชต์ภาคย์, 38, 224-240.

วรนุช เกษมสุข. (2561). ศึกษาลักษณะทีมงานที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สกลนคร, 6(23), 191-200.

วราภรณ์ ช่วยแก้ว. (2555). ปัจจัยการบริหารงานที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียน เอกชนสอนศาสนาควบคู่วิชาสามัญ ระดับมัธยมศึกษา ในจังหวัดสตูล. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

วารุณี บารุงสวัสดิ์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. นครพนม: มหาวิทยาลัยนครพนม.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.

ศิรธิรางค์ สังสหชาติ. (2561). การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2. (2561). รายงานผลการสังเคราะห์รายงานการประเมินตนเอง (SAR) ของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2561 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2. เอกสารลำดับที่ 17/2562 กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2553). แนวทางพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุธรรม ตรีวิเศษ. (2562). สภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Robbins. S. P. (1983). Organizational Behavior. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.